เยาวชนอเมริกันผิดอาญา-พ่อแม่ร่วมรับผิด

ดร. รุจิระ บุนนาค

คอลัมน์ แนวหน้าออนไลน์ กฎ กติกา ธุรกิจ

เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567

กรณีเยาวชนอเมริกัน วัย 15 ปี ก่อเหตุกราดยิงที่ โรงเรียนมัธยม ออกซ์ฟอร์ดในรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2564 จนมีผู้เสียชีวิต 4 ราย จากการกระทำอุกอาจดังกล่าว จนเป็นข่าวสะเทือนขวัญที่ถูกเผยแพร่ทั่วไป

เหตุการณ์นี้ ได้กลับเป็นข่าวอีกครั้งหนึ่ง ที่สร้างความสั่นสะเทือนไม่แพ้กัน เมื่อศาลโอ๊คแลนด์เคาน์ตี้ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา โดยคณะลูกขุนได้มีคำตัดสินว่า ทั้งบิดาและมารดาของเยาวชนรายนี้ มีความผิดตามกฎหมายฐานทำให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายโดยประมาท เพราะได้ซื้อปืนให้แก่เยาวชนผู้ก่อเหตุ แต่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอในการดูแล หรือห้ามปรามเยาวชนนั้น กลับปล่อยปละละเลย ให้เกิดเหตุร้ายจนมีผู้เสียชีวิต

ตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) แบบเดียวกับประเทศสหราชอาณาจักร หรือ ที่เราเรียกกันว่า ประเทศอังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ ในคดีอาญา จะมีคณะลูกขุนตัดสินคดีในข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำความผิดกฎหมายหรือไม่จากนั้นศาลจะพิพากษาตัดสินคดีครั้งหนึ่งว่า หากจำเลยกระทำความผิดตามคำตัดสินของคณะลูกขุน จำเลยจะต้องรับผิดจำคุกเป็นระยะเวลานานเท่าใด หรือต้องโทษประหารชีวิต

คณะลูกขุนเป็นบุคคลธรรมดา ที่ถูกสุ่มเลือกให้มาพิจารณาตัดสินคดีแต่ต้องไม่เป็นนักกฎหมายเพราะถือว่าเป็นความเห็นของบุคคลทั่วไปในการพิจารณาพิจารณาว่า จำเลยกระทำความผิดหรือไม่

การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองของพลเมืองอเมริกันในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญสหรัฐในส่วนที่แก้ไข ครั้งที่ 2 หรือที่เรียกว่า Second Amendment ที่ให้สิทธิพลเมืองสหรัฐ ในการมีอาวุธไว้ป้องกันตัว การมีปืนถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นสิทธิเสรีภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันตัวเองและทรัพย์สิน

ชาวอเมริกันมีสถิติครอบครองปืนสั้น 857 ล้านกระบอกจากยอดจำหน่ายปืนสั้นที่ผลิตขายทั่วโลกจำนวนมากกว่า 1,000 ล้านกระบอก (ข้อมูลจาก Small Arms Survey เมื่อปี พ.ศ. 2561) โดยเฉลี่ยประชากรอเมริกัน 100 คน จะมีปืนในครอบครอง 120 กระบอก ซึ่งแสดงว่าชาวอเมริกัน 1 คนอาจมีปืนมากกว่า 1 กระบอก และอาจกล่าวได้ว่า สหรัฐเป็นประเทศที่มีผู้ครอบครองอาวุธปืนมากที่สุดในโลก

กฎหมายควบคุมอาวุธปืน Gun Control Act 1968 (พ.ศ. 2511) ของรัฐบาลกลางสหรัฐ ได้กำหนดขอบเขตแห่งเสรีภาพในการพกพาปืนที่ครอบครอง ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามพกพาปืนไปในสถานที่อ่อนไหว รวมถึงสถานที่สาธารณะหลายแห่ง เช่น จัตุรัสไทม์สแควร์ รถไฟใต้ดิน รวมทั้งที่จัดแคมป์ฤดูร้อน หรือสถานที่ซึ่งคนดื่มแอลกอฮอล์ 

นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดเงื่อนไขให้บุคคลที่ผลิตหรือซื้อขายอาวุธปืนจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลกลางก่อนซึ่งรวมไปถึงห้ามการขนส่งอาวุธระหว่างรัฐทั้งหมดไป หรือจากบุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตในฐานะผู้ค้า ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือนักสะสม และยังห้ามโอนใบอนุญาตโดยเจตนาไปยังกลุ่มบางกลุ่ม ซึ่งจัดอยู่ในประเภทขาดความรับผิดชอบหรืออาจเป็นอันตราย และวางข้อจำกัดในการนำเข้าอาวุธปืนที่มีราคาไม่แพง

ใบอนุญาตการล่าสัตว์และการขยายตัวของเมืองใหญ่ มีผลเป็นนัยสำคัญต่อการซื้อปืนพกที่เพิ่มขึ้น  ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่า การซื้อปืนพกมีความสัมพันธ์กับอัตราอาชญากรรมรุนแรงที่เพิ่มขึ้นด้วย ในทางกลับกันยังแสดงให้เห็นถึงนัยทางการตลาดที่ว่า กฎหมายควบคุมปืนนี้ ไม่ได้

ส่งผลกระทบให้การซื้อปืนพกของชาวอเมริกันลดลงแต่อย่างใด

จากสถิติเหตุอาชญากรรมร้ายแรงจากการกราดยิงที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา ทำให้เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 (2022) ศาลแห่งรัฐบาลกลางของสหรัฐ มีคำสั่งให้ระงับการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาวุธปืนของรัฐนิวยอร์กชั่วคราว เนื่องจากเห็นว่าขัดต่อเสรีภาพคนอเมริกันในการป้องกันตัวตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอนุญาตให้ผู้ครอบครองปืนในสหรัฐมีสิทธิพกพาอาวุธปืนไปในสถานที่ต่างๆ ได้ เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนจากอาชญากรรมร้ายแรงประเภทนี้ และยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ครอบครองปืนในสหรัฐสามารถฟ้องร้องคัดค้านต่อกฎหมายควบคุมอาวุธปืนของรัฐนิวยอร์กได้ด้วย

ภายใต้ระบบกฎหมายของสหรัฐ มีหลักกฎหมายในเรื่องความรับผิดของบิดามารดา ผู้ปกครองเด็กต่อการกระทำของเด็กที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและความเสียหายกับบุคคลภายนอก (Parental Responsibility Law) ซึ่งเป็นหลักกฎหมายบังคับใช้ทั่วไปในสหรัฐ จะแตกต่างกันเฉพาะในรายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละรัฐเท่านั้น เช่น เงื่อนไขเรื่องอายุของเด็ก อัตราโทษ หรืออัตราค่าปรับ               

โดยหลักกฎหมายทั่วไปของสหรัฐ บิดามารดาผู้ปกครองจะถูกกำหนดให้ “ต้องรับผิดแทน” ต่อการกระทำของบุตรหลาน และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับความผิดทางแพ่งและคดีอาญาของบุตรหลาน

แม้กฎหมายสหรัฐจะมีบทบังคับให้บิดามารดา และผู้ปกครองของเด็ก และเยาวชนต้องร่วมรับผิดต่อการกระทำของเด็กและเยาวชนก็ตาม การที่ศาลโอ๊คแลนด์เคาน์ตี้รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา มีคำตัดสินของคณะลูกขุนว่า บิดามารดาของเยาวชนที่กระทำความผิดในการใช้ปืนยิงบุคคลอื่นเสียชีวิต ถือว่ามีความผิดฐานประมาททำให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย เป็นการตีความกฎหมายทั่วไปที่มีอยู่แล้วได้อย่างชัดเจนยิ่งกว่ากฎหมายประกอบอื่นๆ ที่ใช้บังคับ

ย้อนกลับถึงเหตุการณ์กราดยิงโดยเยาวชนที่ศูนย์การค้าสยามพารากอนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566

แม้ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่กำหนดให้บิดามารดาของเด็กต้องร่วมรับผิดต่อความผิดที่เกิดขึ้น และมีโทษทางอาญาก็ตาม เมื่อมีการดำเนินคดีอาญากับผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลของคดีคงไม่ถึงกับว่า มีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย

ในส่วนเยาวชนไทยผู้กระทำความผิดในการกราดยิงยังมีปัญหาในเรื่องจิตเวช ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินคดีแม้เมื่อหายป่วยแล้ว อาจไม่ต้องได้รับโทษหนักเหมือนอย่างในต่างประเทศ

ผลของการดำเนินคดีในประเทศไทยอาจไม่ถูกใจผู้คนส่วนใหญ่ แต่เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับ

                                                    …………………….

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
Cookie policy for development and experience and the experience of use that has previously been studied in detail in the policy and can be controlled by controlling the installation.setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies in each category can be customized according to your needs, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น