โฆษณาแฝง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

รุจิระ บุนนาค

คอลัมน์ แนวหน้าออนไลน์ กฎ กติกา ธุรกิจ

เผยแพร่ : วันศุกร์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

การโฆษณาเผยแพร่ผลิตภัณฑ์สินค้าประเภท “เหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ทั้งหลายโดยตรง ผ่านช่องทางสื่อโฆษณาเป็นเรื่องต้องห้ามตามกฎหมาย พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 ประกอบกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแสดงภาพสัญลักษณ์เพื่อประกอบการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2553

ประเทศไทย มีกฎหมายอนุญาตให้โฆษณาได้ แต่ต้องเป็นการโฆษณาทางอ้อม เนื้อหาโฆษณาที่แพร่ผ่านสื่อจะต้องไม่อวดอ้างสรรพคุณ หรือชักชวนให้มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และที่สำคัญต้องแสดงข้อความคำเตือนประกอบ ข้อความคำเตือนระบุถึงพิษภัยและอันตรายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประกอบในโฆษณาด้วย

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสินค้าประเภทหนึ่ง ที่สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจมหาศาลให้กับประเทศจากภาษีที่จัดเก็บและถือว่า มิได้เป็นสิ่งเสพติดต้องห้าม แต่มีมาตรการจำกัดเสรีภาพในการทำสื่อโฆษณา สถานที่ และรวมถึงเวลาในการจำหน่าย 

แม้อาจจะดูขัดกับเหตุผลทางธุรกิจ แต่ด้วยผลกระทบด้านลบหลายประการ ที่มีต่อตัวผู้บริโภค เพราะฤทธิ์แอลกอฮอล์ มีผลต่อการควบคุมสติของผู้บริโภค หากบริโภคเกินขนาด อันส่งผลกระทบต่อส่วนรวม และบางคราวถึงกับสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อส่วนรวมด้วย จึงเป็นสาเหตุให้ทุกๆ ประเทศในโลก ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขมาตรการควบคุม

การโฆษณาและการจำหน่ายบรรดาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ผลิต เป็นมาตรการอันหนึ่ง ที่ประเทศไทยรวมถึงในหลายๆ ประเทศ ใช้ควบคุม และถือเป็นการควบคุมตั้งแต่เป็นต้นน้ำ ก่อนไหลไปสู่บรรดาผู้บริโภค ซึ่งเป็นปลายน้ำเพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพและครอบครัวผู้บริโภค ตลอดจนอุบัติเหตุและอาชญากรรม ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของแต่ละประเทศในโลก     โดยเฉพาะในประเทศไทยในขณะนี้ ที่กำลังเผชิญกับปัญหาอุบัติเหตุร้ายแรงบนท้องถนนในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ช่วงเทศกาลสำคัญของทุกๆ ปี 

เมื่อเปรียบเทียบกัน มาตรการห้ามตามกฎหมายในประเทศไทย ยังเคร่งครัดน้อยกว่าบางประเทศในแถบเอเชียด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ประเทศศรีลังกา และประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีการห้ามโฆษณาอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายมาตรการควบคุมของแต่ละประเทศ ซึ่งแตกต่างกันไปตามขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี

ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ.) เป็นหน่วยงานราชการ สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจกำกับดูแล ควบคุม การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ซึ่งรวมไปถึงการเผยแพร่สื่อโฆษณาสินค้าประเภทดังกล่าวนี้

วิธีการโฆษณาทางอ้อม เป็นทางออกเดียว สำหรับการโฆษณาสินค้าต้องห้ามประเภทนี้ เพื่อสื่อสารให้ผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมายโดยถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ติดเงื่อนไขข้อจำกัดใดในการได้รับอนุญาตจากหน่วยงานรัฐ จึงมิใช่เรื่องง่าย

กรณีจึงเป็นความท้าทายของฝ่ายโฆษณา หรือผู้รับจ้างโฆษณา ที่จำเป็นต้องหาวิธีการทางอ้อมในโฆษณาสินค้าประเภทนี้ บรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์การตลาดในการเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ เพื่อเอาชนะบรรดาคู่แข่งสินค้าประเภทเดียวกันในท้องตลาด

การโฆษณาสินค้าต้องห้ามประเภทนี้ มักจะอยู่ในรูปของ โฆษณาแฝง (Stealth Market) ซึ่งอยู่ในรูปแบบต่างๆของการโฆษณาเนียนๆ (tie-in) ผ่านระบบสื่อสารมวลชนในรูปแบบการสนับสนุนด้านกีฬา (ผู้สนับสนุนจัดการแข่งขันกีฬา) และรวมถึงผ่านช่องทางสื่อสารโซเชียลออนไลน์ทุกแพลตฟอร์มที่มีอยู่ในยุคดิจิทัลนี้

การโฆษณาดังกล่าว นอกจากจะทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงเครื่องหมายการค้า (Brand Awareness) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการนั้นแล้วยังมีอิทธิพลแฝงให้ผู้บริโภคช่วยประชาสัมพันธ์สินค้าบริการนั้น แบบปากต่อปากอีกด้วย (Word of Mouth)จนเกิดเป็นเส้นทางการเข้าถึงสินค้า หรือบริการ (Customer Journey) อีกแนวทางหนึ่งในอนาคต เช่น ภาพยนตร์โฆษณาซึ่งมีเนื้อหาส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรมการร่ายรำในท้องถิ่นแต่ละภาคของไทย ซึ่งแฝงโฆษณาบรั่นดียี่ห้อดังซึ่งแพร่ภาพออกอากาศทางสื่อโทรทัศน์ ซึ่งถือว่า เป็นกรณีที่พอรับได้ และยังอยู่ในเงื่อนไขของกฎหมาย

ส่วนกรณีภาพยนตร์โฆษณาน้ำดื่มยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งรูปทรงรูปลักษณ์และสีสันของขวดบรรจุน้ำ คล้ายขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปรากฏฉลากเครื่องหมายการค้า หรือโลโก้เดียวกับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเจ้าของผู้ผลิต กลุ่มนักแสดงหรือพรีเซ็นเตอร์หนุ่มสาว ชนขวดกัน ด้วยอากัปกิริยารื่นเริง ฉลองความสำเร็จ ราวกับดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งพฤติกรรมปกติของการดื่มน้ำเปล่าคงไม่ได้ทำกัน คล้ายกับแฝงโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านเครื่องหมายการค้าหรือโลโก้น้ำเปล่า แพร่ภาพออกอากาศทางสื่อโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ ทั่วไปในรูปแบบของโฆษณาคั่น ทำให้ผู้เห็นภาพยนตร์โฆษณานี้ นึกถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีเครื่องหมายการค้าหรือโลโก้เดียวกัน หรือชี้ชวนให้เกิดความอยากซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีเครื่องหมายการค้าโลโก้เดียวกัน

ทำให้เกิดคำถามแก่ผู้ที่สนใจติดตามเรื่องการโฆษณาว่า โฆษณาแบบนี้ทำได้ด้วยหรือ ? และหากเป็นกรณีเดียวกัน ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศที่เคร่งครัดกฎหมาย จะสามารถโฆษณาแบบเดียวกันนี้ได้หรือไม่ ?

แนวความคิดของคนไทย และชาวต่างชาติหลายเรื่องแตกต่างกัน โดยเฉพาะการเคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมาย

                                              ………………………………………

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
Cookie policy for development and experience and the experience of use that has previously been studied in detail in the policy and can be controlled by controlling the installation.setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies in each category can be customized according to your needs, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น