ก.ล.ต.คุมสินทรัพย์ดิจิทัล

ดร.รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ

ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 15 เมษายน 2565
Marut Bunnag International Law Office
rujira_bunnag@yahoo.com
Twitter : @RujiraBunnag

               ปัจจุบัน กระแสการลงทุนใน “สินทรัพย์ดิจิทัล” (Digital Asset)ได้รับความนิยมจากนักลงทุนรุ่นใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก เพราะเชื่อว่า ได้รับผลตอบแทนสูงในเวลาอันสั้น  ตลาดซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
              คนมักจะคุ้นหูกับ Cryptocurrency (คริปโทเคอร์เรนซี) หรือเงินตราดิจิทัล แต่แท้จริงแล้ว สินทรัพย์ดิจิทัล  ยังครอบคลุมถึงโทเคนดิจิทัล (Digital Token) หรือเหรียญดิจิทัล (Cryptotoken)  นอกจากนี้ ยังมีสินทรัพย์ที่เป็นผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลต่างๆ
                ตาม พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 สินทรัพย์ดิจิทัลมี 2 ประเภท ประเภทแรก  คือ   คริปโทเคอร์เรนซี ( Cryptocurrency)   ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ หรือสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ เช่น  บิตคอยน์ (Bitcoin) , อีเธอร์เรียม (Ethereum),   Litecoin,  Ripple, Stellar เป็นต้น
              สิทรัพย์ดิจิทัลประเภทที่สอง  คือ  โทเคนดิจิทัล  (Digital Token)  ซึ่งแบ่งเป็น  2 ประเภทย่อย ได้แก่   โทเคนเพื่อการลงทุน  (Investment Token)  คล้ายกับการถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้ถือโทเคนจะได้รับผลประโยชน์ต่างๆ จากการถือโทเคนตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดไว้ เช่น ผลกำไรจากการลงทุน และโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์  (Utility Token)  ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการได้รับสินค้าและบริการต่างๆ ภายในองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น บัตรโดยสารรถไฟฟ้า คูปองในศูนย์อาหาร หรือชิปในคาสิโน  


              บางประเทศยอมรับในการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ เช่น เอลซัลวาดอร์ที่ยอมรับบิตคอยน์ เป็นเงินตราสามารถใช้ชำระค่าสินค้าและบริการได้ตามกฎหมาย  รัฐบาลเอลซัลวาดอร์สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลไปเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ  ในขณะที่บางประเทศได้ห้ามการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเด็ดขาดไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด เช่น จีน ที่ถือว่าการลงทุนซื้อขายรวมถึงการขุดเงินดิจิทัลเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
              ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด  มีเศรษฐีหน้าใหม่อายุน้อยจำนวนมาก ทำให้คนจำนวนไม่น้อยหันมาสนใจในสินทรัพย์ดิจิทัล ปัจจุบันมีคนไทยเปิดบัญชีเทรดเงินดิจิทัลมากกว่า 1.6 ล้านบัญชี
              จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2565  ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลมีมูลค่าทั่วโลกอยู่ที่ 1.94 ล้านล้านดอลลาร์ ซื้อขายต่อวัน 99.56 พันล้านดอลลาร์    บิตคอยน์ เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าตามราคาตลาดโดยรวมของหลักทรัพย์จดทะเบียน ( Market Cap.) สูงสุด ตามด้วยอีเธอร์เรียม    
                คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดให้มีการลงทุนและซื้อขายภายใต้การกำกับดูแล  แต่ปัจจุบันธุรกิจบางธุรกิจได้ขยายขอบเขตในลักษณะของการยอมรับให้ใช้สินทรัพย์ดิจิทัลชำระค่าสินค้าและบริการ  ถือได้ว่ามีความเสี่ยงและอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของไทยในภาพรวม  นอกจากนี้ ประชาชนและธุรกิจ อาจมีความเสี่ยงจากการสูญมูลค่าที่เกิดจากความผันผวนของราคา ความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ ความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล รวมถึงการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน
                เมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565   ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และก.ล.ต. จำเป็นต้องเข้ามากำกับดูแล มีการออกกฎเกณฑ์  ที่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 โดยกำหนดว่า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท จะต้องไม่ให้บริการ สนับสนุน  หรือส่งเสริมการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล   6   คือ     (1)  ไม่โฆษณา ชักชวน หรือแสดงตนว่าพร้อมเป็นผู้ให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ   (2) ไม่จัดทำระบบ หรือเครื่องมือในการชำระค่าสินค้าและบริการ (3) ไม่เปิด Wallet เพื่อนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (4) ไม่ให้บริการโอนเงินบาท ซึ่งเป็นการโอนจากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีของบุคคลอื่น (5) ไม่ให้บริการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลจากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีอื่น (6)ไม่ให้บริการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนการรับชำระค่าสินค้าและบริการ
                ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล  แต่ไม่ได้รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต   บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  ได้แก่ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล  นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล  ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล 
               การกำกับดูแลในเรื่องนี้ อาจเกิดผลอย่างชัดเจน ถ้ามีการให้ความรู้ในเรื่องบทลงโทษของการฝ่าฝืน 
               แม้ตามกฎหมายไทยยอมรับการชำระหนี้ด้วยเงิน อย่างไรก็ตาม หากภาคเอกชนยอมรับการซื้อขายสินค้า/บริการชำระและซื้อของด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล  ถือว่าเป็นความสมัครใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย การกำกับดูแลข้างต้นไม่สามารถที่จะควบคุมได้  หรือ นักลงทุนบางรายอาจเลือกที่จะเทรดกับแพลตฟอร์มต่างประเทศแทน  เพราะไม่เพียงแต่จะ เหรียญให้เลือกจำนวนมาก แต่ยังมีสภาพคล่องไหลเวียนมากกว่า เนื่องจากมีการซื้อ-ขายจากทั่วทุกมุมโลก 
                 อย่างไรก็ตาม  ผู้ที่จะลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนให้เข้าใจอย่างดี  ทั้งควรระมัดระวังความเสี่ยงจากการลงทุนหรือถือครองสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งต้องระวังข้อความต่างๆที่ส่งมายังโทรศัพท์เคลื่อนที่  อีเมล เพราะอาจนำมาสู่การถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวส่วนตัว

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
Cookie policy for development and experience and the experience of use that has previously been studied in detail in the policy and can be controlled by controlling the installation.setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies in each category can be customized according to your needs, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น