ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องกฏหมาย

  • ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์
    ทนายความที่ว่าความให้ บอกว่าร่างอุทธรณ์ไม่ทัน ต้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก ทั้งที่จอขยายมา 2 ครั้งแล้ว ปกติขอขยายได้กี่ครั้ง ? รู้สึกไม่สบายใจครับ

    การขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ สามารถทำได้หลายครั้ง ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ ของผู้พิพากษา ที่จะเป็นผู้สั่งอนุญาต

    ในคดีทั่วๆไป ขอได้ประมาณ 3-4 ครั้ง แต่ในคดีที่มีความซับซ้อนทางเทคนิค เช่น คอมพิวเตอร์ การก่อสร้าง อาจขอได้ ประมาณ 10 ครั้ง ครับ

    รุจิระ บุนนาค

    สุชาตื
  • ค้ำประกัน
    คุณพ่อของดิฉันได้เซ็นค้ำประกันญาติไว้กับธนาคาร
    ในการกู้ยืมเงินสินเชื่อ จะมีวิธีไหนที่จะให้คุณพ่อบอกเลิก
    ค้ำประกันกับธนาคาร ได้บ้างคะ ? ขอบคุณค่ะ

    คุณพ่อไม่สามารถยกเลิกสัญญาค้ำประกันกับธนาคารด้วยการบอกยกเลิกเพียงฝ่ายเดียว เพราะต้องได้รับความยินยอมจากธนาคารด้วย

    โดยทั่วไป ธนาคารจะไม่ยอมยกเลิกสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้แล้ว แต่คุณพ่อคุณน่าจะลองเจรจากับทางธนาคาร โดยขอนำ ทรัพย์สินอื่นมาเป็นหลักประกัน หรือหาบุคคลอื่นที่น่าเชื่อถือมากกว่ามาเป็นผู้ค้ำประกันแทน ธนาคารอาจยินยอมให้คุณพ่อยกเลิกสัญญาค้ำประกันได้ ครับ

    รุจิระ บุนนาค

    สายใจ
  • ผู้ค้ำประกัน
    ผู้ค้ำประกันจะมีแนวทางในการต่อสู้อย่างไรในกรณีที่ถูกฟ้องให้ชดใช้แทนลูกหนี้ เนื่องจากได้เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์ให้กับคนที่รู้จัก ต่อมาเค้าขาดส่งค่างวด และได้มีการฟ้องขึ้นศาลไปไกล่เกลี่ย ในวันนั้นตัวผู้เช่าซื้อเองรับปากว่าจะขอผ่อนต่อไป จึงตกลงยอมเซ็นต์ไกล่เกลี่ย แต่หลังจากนั้นผู้เช่าซื้อก็ผิดสัญญาเหมือนเดิม ทางไฟแนนซ์ได้มีการโทรมาทวงถามกับผู้ค้ำประกัน พร้อมแจ้งว่า ให้ช่วยดำเนินการติดต่อผู้เช่าซื้อให้มาปิดยอดบัญชี หากไม่มีการปิดยอดบัญชีเข้ามา จะดำเนินการยึดทรัพย์ผู้ค้ำประกัน ซึ่งเราก็แจ้งกับไฟแนนซ์ไปว่า โทรไปแล้วผู้เช่าซื้อไม่ยอมรับโทรศัพท์ และเมื่อโทรไปหาบ่อยๆ ตอนนี้ผู้เช่าซ์้อบล็อคการติดต่อทุกช่องทาง มองว่าผู้เช่าซ์้อมีเจตนาที่จะไม่รับผิดชอบกับเรื่องนี้ และอีกข้อสังเกต รถยนต์อาจจะถูกขายทอดแบบเถื่อนไปแล้ว ทำให้ผู้เช่าซื้อไม่มีรถไปคืนไฟแนนซ์ แบบนี้ทางผู้ค้ำประกันจะมีแนวทางในการต่อสู้ในคดีนี้อย่างไร เพราะทางผู้เช่าซ์้อก็ยังใช้ชีวิตปกติ ไม่ได้เสียชีวิต และทุกครั้งที่ไฟแนนซ์โทรมาหาผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันรับสายตลอดและพยายามให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ตลอด แต่ดูเหมือนทางไฟแนนซืจะไม่เต็มที่ในการติดตามยึดรถ

    ตามหลักกฎหมาย ผู้ค้ำประกัน มีหน้าที่ต้องชำระหนี้แทนลูกหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เดิม กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ทวงถามผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ได้เลย (โดยเจ้าหนี้อาจไม่เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน) และผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม ซึ่งหมายความว่า ต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ต่อมากฎหมายในเรื่องค้ำประกัน ได้แก้ไขใหม่เป็นว่า ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดแบบลูกหนี้ร่วม แต่หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ยังไม่สามารถเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ในทันที เจ้าหนี้ต้องออกแรงบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อน หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้กรณีของคุณ ที่ผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ คุณในฐานะผู้ค้ำประกันอาจยังไม่ต้องรีบชำระหนี้ในทันที ต้องให้เจ้าหนี้ ไปทวงถามและติดตามหนี้จากผู้เช่าซื้อก่อน หากผู้เช่าซื้อไม่สามารถชำระหนี้เพราะไม่มีทรัพย์สินให้บังคับ เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิบังคับหนี้จากคุณในฐานะผู้ค้ำประกัน ครับ

    รุจิระ บุนนาค

    กอฟ
  • หลักฐานค้ำประกัน ในสัญญากู้ยืมเงิน
    ในการทำสัญญากู้ยืมเงิน ผู้กู้ได้นำสินทรัพย์มาค้ำ คือ สำเนาโฉนดคอนโด แต่ชื่อเจ้าของคอนโด มิได้เป็นของผู้กู้แต่อย่างใด แต่ผู้กู้และผู้ค้ำ เป็นผู้ชำระค่าคอนโด ทุกเดือน หากแบบนี้ เมื่อใดที่ผู้กู้ผิดสัญญา ผู้ให้กู้จะสามารถใช้หลักฐานนี้เพื่อฟ้องนำทรัพย์สินกลับมาได้หรือไม่คะ

    คำถามนี้ เป็นคำถามที่ไม่ชัดเจนเจน อย่างไรก็ตาม ขอสรุปตามที่ถามใหม่ครั้งหนึ่ง

    คำถามน่าจะมีสาระสำคัญดังนี้
    ในการทำสัญญากู้ยืมเงิน ผู้กู้ได้นำสำเนาโฉนดคอนโดมาแสดง เพื่อเห็นว่ามีความน่าเชื่อถือ โดยไม่ได้นำคอนโดดังกล่าวมาจดทะเบียนจำนองไว้เป็นหลักประกัน
    ในการกู้ยืมเงินนี้ ผู้กู้เงินและเจ้าของคอนโด ร่วมกันชำระหนี้

    หากเป็นเช่นนี้ เมื่อผู้กู้เงินผิดนัดไม่ชำระหนี้ ผู้ให้กู้ฟ้องเรียกเงินจากผู้กู้ได้ ส่วนเจ้าของคอนโดนั้น ต้องดูว่าได้ ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันหรือไม่ ถ้าลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน เมื่อผู้กู้ไม่ชำระเงิน ผู้ให้กู้ฟ้องเรียกเงินจากผู้ค้ำประกันได้

    หากเจ้าของคอนโดเป็นผู้ค้ำประกัน และไม่ชำระเงินกู้ ผู้กู้มีสิทธิยึดคอนโด เพื่อขายทอดตลาด ชดใช้หนี้ได้

    รุจิระ บุนนาค

    โสภา
  • ฟ้องอาญาและแพ่ง
    ครอบครัวผมถูกโกง ปรึกษาทนายแล้ว ไม่แน่ใจว่า ควรฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่ง เรียกค่าเสียหายมาในคดีเดียวดัน หรือควรจะแยกฟ้องคดีอาญา และ คดีแพ่ง กันคนละคดี ฟังคำแนะนำแล้วงง ตัดสินใจไม่ถูก ช่วยแนะนำด้วย ขอบคุณมากครับ

    คุณบอกว่า ครอบครัวของคุณถูกโกง ดังนั้น ข้อหาในคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง ควรจะเป็นข้อหา ฉ้อโกง

    การฟ้องคดีอาญา และคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เป็นคดีเดียวกัน พร้อมกัน โดยแต่งตั้งทนายความ และครอบครัวของคุณเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ถือเป็นความสะดวกในการดำเนินคดี แต่ยังมีข้อเสียอยู่ตรงที่ว่า หากไต่สวนมูลฟ้องในส่วนของคดีอาญาแล้ว ศาลสั่งไม่รับฟ้อง จะมีผลต่อคดีแพ่งตามไปด้วย

    หากแยกฟ้อง เป็นคดีอาญาคดีหนึ่ง และคดีแพ่งอีกคดีหนึ่ง เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาและไม่รับฟ้อง ยังดำเนินคดีแพ่งต่อได้ เพราะเป็นคนละคดีกัน

    การที่จะฟ้องคดีอาญา และคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เป็นคดีเดียวกัน คุณควรปรึกษากับทนายความให้มีความแน่นอนชัดเจนว่า ตามรูปคดี เมื่อไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาแล้ว จะมีโอกาสสูงที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณา จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ครับ

    รุจิระ

    ชาติ
  • คำพิพากษาศาลไทยในต่างประเทศ
    ขอสอบถามในกรณีที่ฟ้องคดีชาวต่างชาติ ที่ศาลไทยในประเทศไทย และคดีถึงที่สุดแล้ว จะนำคำพิพากษาของศาลไทยที่ถึงที่สุดไปบังคับคดี่ีในต่างประเทศได้หรือไม่ ?

    โดยหลักกฎหมายแล้ว คำพิพากษาของศาลไทยไม่สามารถ นำไปบังคับคดี หรือบังคับใช้ในต่างประเทศ เพราะประเทศไทยไม่ได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาเกี่ยวกับเรื่องนี้

    แต่คำพิพากษาของศาลไทย อาจนำไป บังคับคดีหรือบังคับใช้ในต่างประเทศได้ในบางประเทศ ที่ประเทศนั้นมีความตกลงร่วมมือกับประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งต้องตรวจสอบเป็นกรณีๆไ

    โชติ
  • อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
    ขอรบกวนสอบถามว่า ตามกฎหมายผู้เกี่ยวข้องในคดีจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ ได้หรือไม่ ? ทนายบางคนบอกว่าได้ บางคนบอกว่าไม่ได้ และทำไมบางทียังดำเนินคดีต่อในชั้นศาลอีก ? ขอบคุณมาก

    ตามกฎหมายแล้ว คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ไม่สามารถอุทธรณ์ได้

    แต่ในทางปฏิบัติหลายคดี ฝ่ายที่แพ้คดีจะหาทางฟ้องคดีต่อศาล เพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ โดยอ้างเหตุว่า ไม่เป็นไปตามกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อย

    รุจิระ บุนนาค

    สุกรี
  • House Certificate
    Is the House Certificate considered as an evidence for the ownership of a house ?

    House Certificate is merely information to show who is listed as occupying a particular house or building.

    It is not a legitimate document to prove the ownership of a house or building.

    To prove the ownership of a house or building, it is needed to show other legitimate documents, for instance, the title deed, construction license, etc.

    Rujira Bunnag

    Ray
  • อุทธรณ์
    ในคดีในคดีแพ่ง หากเราเป็นโจทก์ ศาลต้นตัดสินให้โจทก์ชนะคดี แต่ได้เงินน้อยกว่าจำนวนที่ฟองเรียก โจทก์จะอุทธรณ์ และจำเลยจะอุทธรณ์เพราะแพ้คดี ไปในเวลาเดียวกัน จะทำได้หรือไม่ ? ขอบคุณมาก

    กรณีนี้ ทั้งโจทก์และจำเลยที่ไม่พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นสามารถอุทธรณ์พร้อมกันได้

    ลินดา
  • ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของบุคคลอื่น
    อดีตลูกเขยชาวอเมริกันได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของมารดาของนายA แต่บุตรสาวนายAได้เสียชีวิตไปแล้ว นายAให้อดีตลูกเขยอยู่ต่อโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งเดิมเป็นสำนักงานกึ่งโรงงานเล็กๆ อดีตลูกเขยอยู่บ้านนั้นเกินกว่า10ปีแล้วโดยไม่ได้ทำสัญญาใดๆ แต่อดีตลูกเขยสร้างมลภาวะทั้งฝุ่นและเสียงกบไฟฟ้า ถ้าฟ้องขับไล่ จะมีโอกาสชนะไหมคะ
    อีกข้อคือกฏหมายไทยและอเมริกาแตกต่างกันไหมคะ เรื่องกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินนั้นที่ถูกต้องจะเป็นของนายAหรืออดีตลูกเขย (อดีตลูกเขยบอกว่าบ้านเป็นของเขา)
    ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

    ที่ดินเป็นของมารดานาย A อดีตลูกเขยไม่มีสิทธิ เป็นเจ้าของในที่ดินนั้น

    ส่วนบ้านที่อดีตลูกเขย สร้างบนที่ดิน ต้องพิจารณาว่า มีใบอนุญาตก่อสร้างหรือไม่ และใครเป็นผู้ได้รับอนุญาตตาม

    ใบอนุญาตก่อสร้างนั้น จึงจะมีความชัดเจนว่า บุคคลใดเป็นเจ้าของบ้าน

    แต่อาจเป็นไปได้ที่อดีตลูกเขย สร้างบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ซึ่งอดีตลูกเขยจะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์สิทธิของตนเอง และคงพิสูจน์ได้ยากมาก

    อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของที่ดินไม่มีความประสงค์จะให้ลูกเขยอยู่ต่อไป เจ้าของที่ดินมีสิทธิส่งหนังสือบอกกล่าวให้แก่อดีตลูกเขยอย่างเป็นทางการ เพื่อให้รื้อถอนบ้านและย้ายออกไป จากที่ดินภายในกำหนดเวลา หากไม่ ดำเนินการ เจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่อดีตลูกเขยได้

    รุจิระ บุนนาค

    Jub
  • ภาระภาษีบุคคลธรรมดาของพนักงานต่างด้าว
    อยากขอเรียนสอบถามว่า พนักงานต่างด้าวทำงานในประเทศไทยกับบริษัทฯ เป็นเวลา 1 ปี มีเงินได้จากสวัสดิการเกณียณอายุ จ่ายโดยบริษัทแม่ในญี่ปุ่น ต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่ครับ?
    ขอบคุณล่วงหน้าครับ

    แต่คนต่างด้าว มีสิทธิขอยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ในประเทศญี่ปุ่นซ้ำอีกแล้วแต่กรณี ตามสนธิสัญญา ภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น (Double Taxation) ต้องตรวจสอบข้อกำหนดในสนธิสัญญา ภาษีซ้อนนั้น

    รุจิระ บุนนาค

    โซยอน
  • การบังคับคดีคำพิพากษาศาลต่างประเทศในไทย
    ผมติดตามอ่านข่าวธุนกิจ ทำให้มีข้อสงสัย ขอรบกวนสอบถามว่า การที่คนไทยฟ้องคดีกันเองในศาลต่างประเทศ และมีคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ให้คนไทยต้องรับผิด จะบังคับคดี ในประเทศไทย ให้ต้องชดใช้เงินตามคำพิพากษานั้น ได้หรือไม่ ? ขอบคุณมากครับ

    คำพิพากษาคดีของศาลในต่างประเทศ ในปัจจุบันไม่สามารถมาบังคับคดีในประเทศไทยได้ เพราะประเทศไทยไม่ได้เข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญาเกี่ยวกับเรื่องนี้

    ปัจจุบันจะแตกต่างกับในอดีต ที่เคยมีคำพิพากษาคดีของศาลในต่างประเทศบางคดี สามารถบังคับคดีในประเทศไทยได้ ซึ่งถือเป็นกรณียกเว้น เพราะคดีนั้นมีความเชื่อมโยงบางประการเกี่ยวกับคนไทยที่พิพาทกัน และเหตุที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

    รุจิระ บุนนาค

    ไชย
  • คำแถลงการณ์ปิดคดี
    ในคดีแพ่งและคดีอาญา เมื่อสืบพยานเสร็จแล้ว จำเป็นต้องทำคำแถลงการณ์ปิดคดี หรือไม่ ? ทนายบอกควรทำ แต่บางคนที่เคยมีคดีบอกไม่จำเป็น จริงๆแล้วเป็นอย่างไรกันแน่คะ ?

    ตามกฏหมาย ศาลไม่ได้บังคับให้ คู่ความต้องส่งคำแถลงการณ์ปิดคดี เมื่อสืบพยานเสร็จ

    ศาลเพียงให้โอกาสคู่ความ ที่จะเขียนสรุป ข้อเท็จจริง เหตุผล และหลักกฏหมาย ที่เกี่ยวกับคดี เพื่อให้ศาลได้มีโอกาสอ่านและทำความเข้าใจในสิ่งที่คู่ความอยาก ชี้ประเด็นให้ศาลเห็นได้ชัดเจนขึ้น ก่อนที่ศาลจะทำคำพิพากษาตัดสินคดี ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่คู่ความที่เขียน และส่งคำแถลงการณ์ปิดคดีได้ทันภายในกำหนดเวลา

    รุจิระ บุนนาค

    ลินดา
  • Witness Testimony
    Can a foreigner as a witness prepare written testimony to submit to the judge during the trial ?

    Yes, he can but he is required to submit the Witness Testimony before the trial date.

    Rujira Bunnag

    John
  • Building
    Can a foreigner or a foreign company own a building in Thailand ?

    A foreigner or a foreign company can own a building in Thailand, definitely.

    On the other hand, the foreigner or the foreign company cannot own a piece of land in Thailand, unless getting a permission from the Thai authorities.

    Rujira Bunnag

    Gordon
  • สัญญา, เลขบัตรประชาชน
    ในการทำสัญญา จำเป็นต้องใส่เลขบัตรประชาชนของคู่สัญญา ที่เซ็นสัญญากันหรือไม่ ? ขอบคุณมาก

    ในการทำสัญญา กฎหมายไม่ได้บังคับว่า คู่สัญญาที่ลงชื่อหรือเซ็นชื่อในสัญญา ต้องใส่เลขบัตรประชาชนไว้ในสัญญาด้วย ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องใส่เลขบัตรประชาชน ครับ

    รุจิระ บุนนาค

    สาวิตรี
  • B.O.I., Promotion Certificate
    I am a foreigner and interest to apply for a promotion certificate in Thailand. I am wondering why some applicants can get Promotion Certificate but some can’t, could you comment. Thanks.

    The Board of Investment (B.O.I) always grants a Promotion Certificate to applicants for projects of the applicants which the B.O.I. considers to be beneficial for the the economy of Thailand.

    For instance, a transfer of technology, or more employment for Thai workers, or more products for exporting, etc.

    Rujira Bunnag

    Lloyd
  • ทนายความรับรองผลคดี
    การแต่งตั้งว่าจ้างทนายความ ให้ฟ้องคดีหรือต่อสู้คดี ทนายความรับรองผลว่าชนะแน่ 100 % จะเชื่อถือได้หรือไม่ ?
    เพราะมีผลต่อการตัดสินใจของลูกความในการว่าจ้างทนายความ

    ผมมีความคิดเห็นส่วนตัวว่า ทนายความไม่สามารถรับรองผลคดีว่า จะชนะ 100 %

    เพราะการดำเนินคดี ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น พยานหลักฐานเอกสารที่มี, พยานบุคคลบางปาก แม้รับปากว่าจะเบิกความว่าอย่างไร ถึงเวลาเบิกความต่อหน้าศาลอาจไม่เป็นไปตามนั้น

    ถ้าจะให้ทนายความรับรอง จะสามารถรับรองได้เพียงว่า จะว่าความให้สุดความสามารถ แม้คดีจะมีโอกาสชนะ แต่ไม่สามารถรับรองผลได้ 100% ครับ

    รุจิระ บุนนาค

    ปรีขา
  • ขอขยายระยะเวลายื่นเวลายื่นอุทธรณ์
    คุณแม่มีคดีแพ่ง ทนายว่าความแพ้ในชั้นศาลต้น ทนายบอกว่า ต้องยื่นอุทธรณ์ แต่ทำอุทธรณ์ไม่ทัน จะขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ โดยจะยื่นคำร้องขอในวันสุดท้าย ฟังแล้วไม่ค่อยสบายใจกลัวว่าจะไม่ทัน คุณคิดว่าจะทันหรืเปล่าคะ ?

    การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ โดยทั่วไปจะไม่คำร้องขอขยายในวันสุดท้าย เพราะศาลท่านอาจจะสั่งไม่ทันเนื่องจากมีงานมาก ทำให้ผู้ขอสูญเสียโอกาส

    ดังนั้นผู้ขอควรจะยื่นก่อนวันสุดท้ายประมาณ 3-4 วัน หากยื่นขอก่อนล่วงหน้าเป็นเวลานานเกินไป อาจไม่เป็นเหตุขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ ครับ

    รุจิระ บุนนาค

    พรรณี
  • คดีในต่างประเทศ
    มีคดีความในต่างประเทศ จะให้ทนายความในประเทศไทยไปว่าความ ที่ศาลต่างประเทศ ได้หรือไม่ ? ขอบคุณมาก

    ทนายความไทยจะไปว่าความที่ศาลต่างประเทศ หรือในการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการในต่างประเทศไม่ได้

    ทนายความต่างประเทศจะมาว่าความในประเทศไทยไม่ได้เช่นกัน ถือเป็นหลักสากล

    หากคุณมีคดีความในต่างประเทศ สิ่งที่ทนายความไทยสามารถช่วยดำเนินการให้คุณได้แก่ การให้คำปรึกษา การช่วยหา ทนายความในต่างประเทศที่มีความรู้ความชำนาญตรงกับคดีที่พิพาท ช่วยเตรียมข้อมูลและเตรียมคดีให้กับทนายความต่างประเทศที่ว่าความ ช่วยประสานและควบคุมการทำงานของทนายความต่างประเทศครับ

    รุจิระ บุนนาค

    พรรณี
1 / 212

Enter Legal Question

( Your email address will not be shown in this web site )