ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2565

ดร.รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ
Marut Bunnag International Law Office
rujira_bunnag@yahoo.com

การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ถูกยกเลิกไป เนื่องจากมีสภาพปัญหาที่สั่งสมมานาน ต้องปฏิรูปโครงสร้างระบบภาษีทรัพย์สินให้ทันสมัยเป็นสากล จึงได้มีการตราพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 อัตราการเก็บภาษีจากการเข้าทำประโยชน์บนที่ดิน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน

             เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีการลดอัตราจัดเก็บภาษีของปีพ.ศ. 2563 และ 2564 ถึงร้อยละ 90 เพื่อแบ่งเบาภาระให้แก่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี คือ (1) เจ้าของที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง(2) เจ้าของห้องชุด และ (3) ผู้ครอบครองทรัพย์สินของรัฐ (ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง)

            ใครเป็นเจ้าของหรือครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในวันที่ 1 มกราคม ของปีใด ถือเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีในปีนั้น  

           ต้นปีพ.ศ.2565 ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจำนวนไม่น้อยที่ต่างคาดหวังว่า  จะมีการลดภาษีเหมือนสองปีที่ผ่านมา แต่ในที่สุดไม่ได้มีการปรับลดการจัดเก็บลงร้อยละ 90   ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจำนวนไม่น้อยที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพร้อมจำนวนภาษีที่ต้องชำระ

            สำหรับกรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเจ้าของร่วมที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน เจ้าของกรรมสิทธิ์ต่างได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี

            การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นรายได้หลักที่นำเข้าสู่ท้องถิ่น จากที่มีการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสองปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 90 กระทรวงการคลังได้ออกมาเปิดเผยว่า ทำให้รายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลงปีละประมาณ 3 หมื่นล้านบาท และขาดรายได้ไปพัฒนาพื้นที่  เนื่องจากภาษีที่จัดเก็บได้ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดถือเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เพื่อเป็นงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่

            อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปีภาษีพ.ศ.2565-2566 จะมีอัตราเช่นเดียวกับปี 2563-2564 แต่ไม่มีการปรับลดการจัดเก็บลงร้อยละ 90       การจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปีพ.ศ. 2565 เมื่อคำนวณได้เท่าไร จึงต้องจ่ายเต็มจำนวน

            สำหรับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบัน กำหนดครอบคลุมที่ดิน 4 ประเภท มีดังนี้  (1) ที่ดินเพื่อการประกอบเกษตรกรรม อัตราภาษีที่จัดเก็บตั้งแต่ร้อยละ 0.01-0.1 (2) ที่อยู่อาศัย อัตราภาษีที่จัดเก็บตั้งแต่ร้อยละ 0.02-0.1 แยกเป็น (ก)  สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา อัตราภาษีที่จัดเก็บ ตั้งแต่ร้อยละ 0.03-0.1  (ข) สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน อัตราภาษีที่จัดเก็บ ตั้งแต่ร้อยละ 0.02-0.1  (ค) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยกรณีอื่นนอกเหนือจากข้อ (ก) และ (ข) มีอัตราภาษีที่จัดเก็บ ตั้งแต่ร้อยละ 0.02-0.1 (3) การใช้ประโยชน์อื่นนอกเหนือจากข้อ (1) และข้อ (2) หรือที่ดินกลุ่มพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม อัตราภาษีที่จัดเก็บ ร้อยละ 0.3-0.7 (4) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ ยกเว้น มีกฎหมายห้ามหรือทิ้งไว้เพื่อการเกษตรหรือปล่อยไว้เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการ อัตราภาษีที่จัดเก็บ ตั้งแต่ร้อยละ 0.3-0.7            

              ทั้งนี้ในปีพ.ศ.2565 นี้ ผู้เสียภาษีได้รับการบรรเทาภาระภาษีบางกรณี ได้แก่

               1.   ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประกอบเกษตรกรรมได้รับยกเว้นภาษี

                2. กรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีสำหรับสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท หรือมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่กรณี แต่สำหรับบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกินกว่าที่กำหนดดังกล่าว  จะเสียภาษีเต็มอัตราเฉพาะส่วนที่เกินเท่านั้น

                 3.การผ่อนปรนภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีกรณีมีภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สูงกว่าค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่เคยชำระในปีพ.ศ.2562 จะบรรเทาภาระให้โดยเสียภาษีเท่ากับค่าภาษีปีพ.ศ. 2562 บวกร้อยละ 75 ของส่วนต่างค่าภาษีปีพ.ศ. 2565 กับปี พ.ศ.2562

               แม้การจัดเก็บภาษีจะทำให้รัฐเกิดรายได้   เพื่อนำไปพัฒนาประเทศชาติ แต่ในปีพ.ศ.2565 นี้ สถานการณ์โควิด-19 ยังคงระบาดและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม ธุรกิจจำนวนไม่น้อยต้องเลิกกิจการ บางแห่งต้องลดอัตราการผลิต การจ้างงานลดลง ผู้คนขาดรายได้ แต่รัฐบาลกลับเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเรียกเก็บเต็มร้อยละ 100 ทั้งที่เศรษฐกิจยังไม่ดี

            รัฐบาลควรเรียกเก็บภาษีแบบขั้นบันไดไปก่อน เช่นในปีนี้ เริ่มจากร้อยละ 20-30   ปีต่อๆไปค่อยขยับขึ้น เรื่อยๆ จนในที่สุดเก็บเต็มร้อยละ 100 เพื่อให้ธุรกิจเริ่มปรับตัว และอยู่ได้

              การเรียกเก็บร้อยละ 100   ทั้งที่ยังไม่มีความพร้อม อาจทำให้ธุรกิจหลายแห่ง ต้องเลิกกิจการ คนตกงานเพิ่มขึ้น แทนที่รัฐบาลจะได้รับเงินภาษี เพื่อมาช่วยประเทศชาติ กลับต้องสูญเสียโอกาสโดยไม่จำเป็น

              ตอนนี้ เจ้าของที่ดินหลายแห่งที่ไม่ได้ทำประโยชน์ เริ่มปลูกพืช เพื่อทำการเกษตร ทั้งที่อยู่ในเขตเมืองและเขตธุรกิจ เพียงเพื่อต้องการรับสิทธิในการลดภาษี ย่อมแสดงว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมจะเสียภาษี เต็มร้อยละ 100   แม้บางคนถือว่าเป็นผู้มีอันจะกิน หรือบางคนเรียกได้ว่าเป็นเศรษฐี

                 รัฐบาลควรมองการไกลเพื่อให้สามารถเก็บภาษีได้จริง จะได้รับเงินมาทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ไม่ใส่มองเพียงระยะเวลาเฉพาะหน้า เร่งเก็บภาษี แต่กลับเป็นการสร้างภาระ และความเดือดร้อนให้ประชาชน

               ยิ่งในสถานการณ์โควิด-19 เยี่ยงนี้ รัฐบาลไม่ควรสร้างภาระให้ประชาชนจนเกินไป แต่ควรจะประคับประคองให้ประชาชนอยู่ได้ และรัฐบาลบริหารประเทศได้เช่นกัน

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
Cookie policy for development and experience and the experience of use that has previously been studied in detail in the policy and can be controlled by controlling the installation.setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies in each category can be customized according to your needs, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น