มุมมืด – ของผู้สูงอายุ
ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 16 กรกฎาคม 2564
ดร. รุจิระ บุนนาค
16 กรกฎาคม 2564

Facebook : Rujira Bunnag

Twitter : @RujiraBunnag

สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน ในอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน ในอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 7 ขึ้นไป

               สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)  หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน ในอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน ในอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 14 ขึ้นไป

              อัตราประชากรโลกนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2493-2563  ผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปค่อยๆ มีแนวโน้มสูงขึ้น ผิดกับจำนวนประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปีที่พุ่งต่ำลง

              ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ต่อจำนวนประชากรอายุระหว่าง 20-64 ปีมากถึงร้อยละ 51 ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนผู้สูงอายุต่อจำนวนประชากรที่มากที่สุดในโลก  การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในญี่ปุ่นสวนทางกับความเป็นไปได้ของอัตราการเกิดใหม่ ในปีพ.ศ.2562 อัตราการเกิดทั่วประเทศลดลงต่ำกว่า 900,000 คน  ทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (super-aged society) มีการคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ.2568  ญี่ปุ่นจะมีประชากรผู้สูงอายุ  1 คนต่อประชากรวัยแรงงาน 2 คน  จากสถิติปีพ.ศ. 2562 อายุขัยเฉลี่ยของชาวญี่ปุ่นในผู้หญิง คือ  87.45 ปี  และในผู้ชาย คือ  81.41 ปี   นับว่าสูงมากทั้งสองเพศ

                จำนวนผู้สูงอายุที่มากกว่าคนวัยทำงาน ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในโลกทุนนิยม เพราะการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์  เมื่อประชากรส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ  ทำให้การจ้างงานลดต่ำลง ผลผลิตจึงลดลงมาด้วย  ขณะที่รัฐยังต้องจ่ายเงินบำนาญให้แก่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น  เมื่อมาดูสภาพสังคมญี่ปุ่นในปัจจุบันที่อัตราการเกิดต่ำแต่ผู้คนอายุยืนขึ้นจนค่าเฉลี่ยอายุสูงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นว่าคนรุ่นใหม่ได้แต่ทำงานส่งเงินเข้าระบบ เลี้ยงดูผู้รับเงินบำนาญที่มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

                ญี่ปุ่นให้เงินบำนาญผู้สูงอายุตั้งแต่ปีพ.ศ. 2504 แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ (1) ระบบเงินบำนาญแห่งชาติ คือเงินบำนาญรูปแบบพื้นฐานที่สุด เก็บจากคนที่มีอายุ 20-60 ปี โดยไม่เกี่ยวกับว่าประกอบอาชีพอะไร  (2)  ระบบบำนาญลูกจ้างเอกชน (3) ระบบเงินบำนาญของข้าราชการและสมาคมอาชีพต่างๆ 

                ส่วนเงินที่จะได้รับ ขึ้นอยู่จำนวนเงินที่ได้จ่ายเข้าระบบกันคนละเท่าไหร่ ที่เป็นมาตรฐาน คือ หากจ่ายเงินเข้าระบบอย่างต่ำ 40 ปี จะได้รับเงินจำนวน 800,000 เยนต่อปีหรือประมาณ  240,000 บาท เฉลี่ยประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน

                เป็นธรรมเนียมของชาวเอเชียที่ลูกๆต้องกตัญญูต่อบิดามารดา ผู้สูงอายุบางคนจึงยังคงอยู่กับลูกๆหลานๆ  ดังนั้น เงินบำนาญที่คนสูงอายุในญี่ปุ่นได้ สำหรับบางครอบครัวเปรียบเสมือนรายได้หลักของครอบครัว เพราะสมาชิกในบ้านสามารถนำมาจุนเจือ จับจ่ายใช้สอย แบ่งเบาภาระลูกหลานได้

               เงินบำนาญของผู้สูงอายุของบางครอบครัว ถือเป็นรายได้หลัก ทำให้บางกรณีผู้สูงอายุถึงแก่มรณกรรมแล้ว แต่ครอบครัวไม่ได้แจ้งแก่ทางการ ไม่มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่กลับฝังศพไว้ในบ้าน เพื่อคอยรับเงินบำนาญ มาจับจ่ายใช้สอยต่อไป  ทางการญี่ปุ่นจึงมีการตรวจฐานข้อมูลผู้สูงอายุ และมีการสุ่มไปถึงบ้านว่า ผู้รับบำนาญยังมีชีวิตอยู่หรือไม่  ผลปรากฏว่า ยิ่งตรวจสอบ ยิ่งพบกรณีที่เกิดขิ้น  

               ที่น่าเศร้า คือ ผู้สูงอายุบางคนหนีออกจากบ้าน แต่ลูกหลานไม่ได้แจ้งคนหาย ไม่ได้ติดตามหาตัว แต่ยังคงรับเงินบำนาญเรื่อยๆ  

               ผู้สูงอายุในญี่ปุ่นมากกว่า 6 ล้านคนไม่มีครอบครัว หรือลูกหลานอาจอยู่ห่างไกล ทำให้ต้องอยู่เพียงลำพัง ยังชีพด้วยเงินบำนาญ ถ้าไม่มีบ้านเป็นของตนเอง ต้องนำเงินบำนาญมาเสียค่าเช่าบ้าน หรือแม้จะมีบ้านพักคนชรา แต่คงไม่สุขสบาย เงินบำนาญที่ได้รับจึงไม่พอเพียงที่จะใช้จ่าย   ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยในสังคมญี่ปุ่น ที่มีความรู้สึกว่าถูกโดดเดี่ยวและมีความเหงา ทำให้ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อย  ต้องการหาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์เหล่านี้ได้ 

                ญี่ปุ่นประสบปัญหาสังคม ที่คนชราหรือผู้สูงอายุกลายเป็นกลุ่มคนที่ก่ออาชญากรรม  ในรอบ 10 ปีมานี้ สัดส่วนการก่ออาชญากรรมโดยเฉพาะการลักทรัพย์ของคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีสัดส่วนมากกว่าวัยรุ่นญี่ปุ่นอายุ 14-19 ปี

               จากสถิติในปีพ.ศ. 2555  พบว่าจำนวนผู้สูงอายุในกรุงโตเกียว ถูกจับในข้อหาลักทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน  28,673 คน แต่ตัวเลขที่แท้จริงสูงกว่ามาก เพราะมีหลายรายที่ไม่ได้แจ้งความไว้ เนื่องจากสงสาร ในขณะที่จำนวนกลุ่มวัยรุ่นญี่ปุ่นที่ประกอบอาชญากรรมในรูปแบบเดียวกันนั้นอยู่ที่ 19,465 คน   โดยสิ่งของกว่าร้อยละ 70  ที่ผู้สูงอายุลักขโมยจะเป็นของใช้ที่มีราคาไม่สูงมาก  เช่น เสื้อผ้าเก่า จักรยานเก่า หรือเป็นอาหาร หรือของที่ทานได้ เช่น ข้าวปั้น อาหารชุดเบ็นโตะ   ปลาไหลย่าง สาเก ผลไม้  ขนมต่างๆ      

            แม้เวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน   การลักทรัพย์ยังคงเป็นคดีเล็กๆ  แต่ผู้ก่ออาชญากรรมที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มากกว่า 1 ใน 3 เคยก่อเหตุมามากกว่า 5 ครั้ง   การขโมยขนมปังราคา 200 เยนหรือประมาณ 50 บาท มีโทษจำคุกถึง 2 ปี  

              การก่ออาชญากรรมของผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  จากข้อมูลของรัฐบาลญี่ปุ่น     กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ต้องหาสูงอายุในเรือนจำไม่มีที่อยู่ ไม่มีรายได้  มองว่าสังคมข้างนอกน่ากลัว  การอยู่บ้านพักคนชราไม่ได้สุขสบาย และต้องการบ้านพักราคาถูก  จึงเชื่อว่า เรือนจำมีอาหารครบ 3 มื้อ มีที่หลับนอน มีเพื่อนๆวัยชราพูดคุยด้วย มีกิจกรรมต่างๆ ทั้งยังมีการตรวจสุขภาพประจำปี   

              เรือนจำในญี่ปุ่นได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลและเอกชน มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน   ผู้สูงอายุบางคน เงินบำนาญที่ได้รับอาจไม่พอสำหรับการซื้ออาหารดีๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ  ติดเครื่องทำความร้อน

เมื่อย้อนนึกถึงประเทศไทย ได้แต่ภาวนาว่า ขออย่าให้เกิดมุมมืดของผู้สูงอายุเลย

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
Cookie policy for development and experience and the experience of use that has previously been studied in detail in the policy and can be controlled by controlling the installation.setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies in each category can be customized according to your needs, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น