ลักกระแสไฟฟ้า ขุดบิตคอยน์

ดร. รุจิระ บุนนาค

คอลัมน์ แนวหน้าออนไลน์ กฎ กติกา ธุรกิจ

เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2567

บิตคอยน์ เป็นเงินสกุลดิจิทัลสกุลแรกที่ถูกสร้างขึ้นมาบนโลก โดยจุดมุ่งหมาย ให้เป็นสื่อกลาง สามารถใช้แลกเปลี่ยน ซื้อขายกันได้อย่างอิสระ

การโอนเงินหรือชำระเงินบิตคอยน์ โดยผ่านระบบ Blockchain เข้ารหัสเป็นบิตคอยน์ ด้วยการ Decentralize ให้ทุกธุรกรรมถูกตรวจสอบจากคอมพิวเตอร์ทั่วทุกมุมโลกผ่านการขุด เหมืองบิตคอยน์(Mining) โดยมี Bitcoin เป็นผลผลิตแทนที่จะเป็นการควบคุมจากใครหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง (สถาบันการเงินหรือองค์กรผู้มีอำนาจควบคุมเงินตราอย่างที่เป็นอยู่เดิม)

ระบบของบิตคอยน์เป็นระบบกลไกที่ตัดหน้าที่ของตัวกลางออก แล้วให้ทุกๆ คนสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้โดยตรงได้ และทุกคนที่อยู่ในระบบ ยังสามารถอ้างเป็นพยานว่ามีการทำธุรกรรมเกิดขึ้นจริงๆ นั้นด้วยฮาร์ดแวร์หน่วยประมวลผลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นกลไกควบคุมขั้นตอนและระบบการทำงานและประมวลผลแก้สมการคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเพื่อให้ได้ บิตคอยน์ (ปัจจุบันมูลค่า 1 บิตคอยน์ มีค่าประมาณ  2,459,627.07 บาท) ซึ่งต้องใช้พลังงานจากไฟฟ้าในปริมาณมากในการทำงาน 

ผู้ที่อยู่ในวงการเทคโนโลยี ประมาณการว่า แม้นักขุดทุกคนจะใช้อุปกรณ์ทันสมัยเพียงใด ต้องใช้ไฟฟ้าประมาณไม่น้อยกว่า 166.7 เมกะวัตต์ในการขุดเพื่อให้ได้เหรียญบิตคอยน์ และยิ่งมีการทำเหมืองขุดบิตคอยน์มากเท่าใด ยิ่งเกิดการแข่งขัน แย่งชิงบิตคอยน์จากบรรดาเหล่าคู่แข่งมากขึ้น การขุดเพื่อให้ได้บิตคอยน์จะยากขึ้น และยิ่งต้องใช้พลังงานมากขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะการขุดในพื้นที่ที่ราคาไฟฟ้าแพง และภูมิภาคที่มีอากาศร้อน จะทำให้ต้นทุนค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้สูงเกินกำไรได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่การขุดในพื้นที่ที่ราคาไฟฟ้าถูกกว่า จะมีข้อได้เปรียบมาก จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ในบ้านเรา จะมีนักขุดที่ละโมบ ลักไฟฟ้ามาใช้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง

พฤติกรรมของนักขุดบิตคอยน์ผู้ละโมบมักที่จะต่อสายตรงจากหม้อแปลงจ่ายไฟเข้าใช้สถานที่ตั้งเครื่องอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์แบบแนบเนียน โดยไม่ผ่านเครื่องมิเตอร์ตรวจวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า ดังที่เกิดเป็นคดีลักทรัพย์ ที่เป็นการลักกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ทั้งการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ทางการไฟฟ้ามักจะตรวจจับได้จากปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่สูงผิดปกติจากการใช้งานในพื้นที่ จนตามมาด้วยการจับกุม แจ้งความดำเนินคดีผู้กระทำในข้อหาลักทรัพย์ ซึ่งมีโทษจำคุก และเสียค่าปรับไปตามกระบวนการยุติธรรมในอดีต การลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการลักกระแสไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าเป็นปัญหาในการตีความตามกฎหมายอาญาว่า พลังงานกระแสไฟฟ้านั้น ถือเป็น ทรัพย์ ตามคำนิยามของกฎหมายอาญาหรือไม่ เพราะไฟฟ้าเป็นพลังงาน ซึ่งไม่มีรูปร่าง จับต้องไม่ได้ แต่มีมูลค่าจากต้นทุนการก่อให้เกิดเป็นพลังงานไฟฟ้า และการจัดการจ่ายเพื่อให้ใช้เป็นพลังงานแก่อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่างๆ ให้สามารถทำงานและสร้างผลผลิตแก่ผู้ใช้ได้ เฉกเช่น การขุดเพื่อให้ได้มาซึ่งบิตคอยน์เช่นกัน 

แนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2501 (ประชุมใหญ่) ถือได้ว่า เป็นบรรทัดฐานที่นำมาใช้เป็นแนวตีความในการตัดสินลงโทษผู้กระทำผิดอาญาฐานลักทรัพย์พลังงานกระแสไฟฟ้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 หรือ 335 แล้วแต่กรณี ซึ่งปรากฏเป็นแนวพิพากษาลงโทษผู้กระทำตามความผิดอาญาฐานลักทรัพย์พลังงานไม่มีรูปร่าง(สัญญาณโทรศัพท์หรือคลื่นความถี่ แนวฎีกา 1880/2542)ด้วยเหตุผลลักษณะเดียวกันในเวลาต่อมา (แนวฎีกา 1880/2542)(ฏ.2286/2545,ฎ.6384/2547,ฎ.481/2549) ทั้งนี้ โดยมีเหตุผลว่า การลักทรัพย์ มิได้หมายถึงเพียงแค่ทรัพย์ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือสัมผัสได้เท่านั้น

ปัญหาประเด็นนี้ ใช่ว่าจะเป็นปัญหาเพียงประเทศไทยเท่านั้น การลักลอบใช้กระแสไฟฟ้า หรือลักทรัพย์กระแสไฟฟ้าในต่างประเทศได้เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) อาทิ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส หรือประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคำพิพากษา (Common Law) อาทิ ประเทศอังกฤษ ต่างได้แก้ไขโดยบทบัญญัติกฎหมายในเรื่องนี้เป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาต่อมา

ในประเทศเยอรมนี ได้มีการบัญญัติความผิดฐานลักลอบใช้กระแสไฟฟ้า แยกเป็นความผิดฐานหนึ่งในประมวลกฎหมายอาญา หรือในประเทศฝรั่งเศสที่เห็นว่าการลักลอบใช้กระแสไฟฟ้าให้ถือเป็นความผิดอาญาเช่นเดียวกับความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งได้มีการบัญญัติเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างชัดเจน รวมไปถึงประเทศอังกฤษ ที่ออกบทบัญญัติให้การลักลอบใช้กระแสไฟฟ้าเป็นความผิดฐาน Abstract of Electricity เป็นความผิดอาญาเฉพาะไว้ ใน Theft Act 1968

การทำเหมืองบิตคอยน์ เป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ที่สนใจ และสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล ยิ่งบิตคอยน์ ที่กำลังขุดกันอย่างบ้าคลั่งในขณะนี้ กำลังจะถึงจำนวนเหรียญบิตคอยน์สูงสุด ซึ่งจำกัดจำนวนเหรียญบิตคอยน์ไว้ มูลค่าของเหรียญบิตคอยน์ ยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

การทำเมืองขุดบิตคอยน์ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายแต่ต้องทำให้ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนใคร และไม่ลักทรัพย์ที่เป็นกระแสไฟฟ้าจากทางราชการ

                                                            ………………………

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
Cookie policy for development and experience and the experience of use that has previously been studied in detail in the policy and can be controlled by controlling the installation.setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies in each category can be customized according to your needs, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น