มาตรา 44 กับสิทธิบัตรยา<br>ลงพิมพ์ในเดลินิวส์ : 24 เมษายน 2560<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>24 เมษายน 2560

สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ (1) ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คือ เป็นการประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคยมีใช้หรือแพร่หลายมาก่อน หรือไม่เคยเปิดเผยสาระสำคัญในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์มาก่อน (2) ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น คือ ไม่เป็นที่เข้าใจได้โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น (3) ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือหัตถกรรม สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เช่น กรรมวิธีในการผลิตยา กรรมวิธีในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป กลไกของเครื่องยนต์ คุ้มครอง 20 ปีนับแต่วันยื่นคำขอ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิม การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตร (1) ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ (2) ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม คุ้มครอง 10 ปีนับแต่วันยื่นคำขอ อนุสิทธิบัตรเป็นการประดิษฐ์ใหม่ที่มีเทคนิคที่ไม่สูงมากนัก มีการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย คุ้มครองรวม 10 ปีนับตั้งแต่วันยื่นคำขอ ก่อนที่สิ่งประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์จะได้รับสิทธิบัตร จะมีขั้นตอนที่เรียกว่า “การตรวจสอบ” โดยเจ้าหน้าผู้ชำนาญการสาขาที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์จะทำการตรวจสอบว่า การประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามคำขอรับสิทธิบัตรเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายหรือไม่ เช่น มีความใหม่ […]