ตำรวจถูกสังหาร

ดร.รุจิระ  บุนนาค กรรมการผู้จัดการ Marut Bunnag International  Law Office rujira_bunnag@yahoo.com Twitter : @RujiraBunnag จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566 ข่าวสารวัตรตำรวจทางหลวง ถูกสังหารด้วยปืนในงานเลี้ยงของกำนันผู้ทรงอิทธิพลจังหวัดนครปฐม โดยมือปืนซึ่งเป็นลูกน้องคนสนิทของกำนัน ได้สร้างความสะเทือนใจ และก่อให้เกิดผลกระทบที่ตามมาเป็นอย่างมาก ตามข่าวในเบื้องต้น ปมสังหารมีเพียงสารวัตรตำรวจผู้ตายขัดใจไม่ยอมโยกย้ายหลานชายกำนัน จากตำรวจสายตรวจประจำรถตำรวจทางหลวง เป็นสายตรวจจักรยานยนต์ ทางหลวง สารวัตรตำรวจผู้ตายอ้างว่า ไม่สามารถทำได้ ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจคนปัจจุบันเกษียณไปก่อน เป็นเหตุให้กำนัน ไม่พอใจ จึงสั่งลูกน้องสังหาร ต่อหน้าต่อตานายตำรวจผู้บังคับบัญชาและบรรดาตำรวจกว่า 20 นายที่ถูกเชิญมาร่วมงานเลี้ยงในคืนวันเกิดเหตุ คนร้ายได้หลบหนีไปได้ ตำรวจผู้บาดเจ็บถูกนำส่งโรงพยาบาล จนต้องเป็นหน้าที่ของตำรวจหน่วยกองปราบออกไล่ล่าตัวคนร้ายกระทั่งจนมุม และถูกวิสามัญฆาตกรรมในเวลาต่อมา  กำนันถูกควบคุมตัวในข้อหา เป็นผู้สั่งการให้สังหารสารวัตรตำรวจ  ต่อมานายตำรวจผู้บังคับบัญชาของสารวัตรรู้สึกเสียใจ เครียดและฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา การสังหารตำรวจอย่างอุกอาจเช่นนี้ สันนิษฐานได้ว่า อาจเกิดจาก 3 กรณี คือ ประการแรก กระทำไปด้วยความโง่เขลาเบาปัญญาเป็นอย่างยิ่ง ประการที่สอง บ้า หรือเป็นโรคจิตประสาทอย่างรุนแรง ประการที่สาม […]

การควบรวมกิจการ โทรคมนาคม กับ ปัญหากฎหมาย

การควบรวมกิจการ โทรคมนาคม ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้รับความสนใจของประชาชนทั่วไป เพราะ ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือและบริการโทรคมนาคม เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน             เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับการควบรวม ทรู-ดีแทค เมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ. 2565) ได้เกิดปัญหาข้อสงสัยว่า ในอดีตที่ผ่านมา กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลได้เคยพิจารณา เรื่องในลักษณะเช่นนี้มาก่อนอย่างไรหรือไม่             คำตอบคือ ภายใต้ประกาศฉบับปัจจุบัน กสทช. ได้เคยพิจารณาและรับทราบเรื่อง การรวมกิจการโทรคมนาคมมาก่อนหน้านี้แล้วถึง 9 เรื่อง             การควบรวมกิจการ สามารถเกิดขึ้นได้ตามกฎหมายจากการที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทมาควบรวมกันเป็นบริษัทใหม่ (A+B=C) ถือเป็นกรณี Amalgamation หรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับใหม่สามารถเกิดขึ้นได้จากบริษัทเดิมสิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคล (A+B = A) ซึ่งแตกต่างจากการกรณีที่ บริษัทที่หนึ่งเข้ามาซื้อหุ้นหรือกิจการของบริษัทที่สอง โดยที่ไม่ได้ทำให้เกิดบริษัทใหม่ขึ้นมา หรือทำให้บริษัทเดิมสิ้นสภาพไป ถือเป็นกรณี Share/Asset Acquisition             การควบรวมกิจการโทรคมนาคม มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ […]

ซื้อบ้านขายทอดตลาด กับ ข้อควรระวัง

ข่าวดังสะเทือนขวัญจากกรณีลูกหนี้ธนาคาร   ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านเดิมได้ถูกธนาคาร ยึดบ้านขายทอดตลาด แล้วเจ้าของบ้านคนใหม่ที่ซื้อบ้านจากการขายทอดตลาด เข้าไปคุยเจรจากับเจ้าของบ้านเดิม ที่ไม่ยอมออกจากบ้าน จนเจ้าของบ้านเดิมไม่พอใจ ไล่ยิงเจ้าของบ้านคนใหม่เสียชีวิตเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก             กรณีดังกล่าว   เจ้าของบ้านเดิมมีพฤติการณ์เหี้ยมโหดมากไล่ยิงเจ้าของบ้านใหม่ที่เป็นผู้หญิงมาคุยด้วยมือเปล่า เมื่อเธอถูกไล่ยิง เธอวิ่งไปเตือนลูกสาว ที่อยู่บนรถให้ระวังตัว ส่วนเธอวิ่งหนีไปอีกทาง เพื่อเบนความสนใจไม่ให้เจ้าของบ้านเดิมทำร้ายลูกสาวตัวเอง ถือว่ายอมเสียชีวิตเพียงคนเดียว เพื่อรักษาชีวิตลูกสาว             ส่วนเจ้าของบ้านเดิม    หลังจากที่บ้านขายทอดตลาดแล้ว       ยังมีเงินเหลือจากการขายทอดตลาดและได้รับเงินคืนในส่วนที่เกินยังอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและถูกโกง เนื่องจากชำระหนี้ให้กับธนาคารแล้ว แต่ธนาคารไม่ยอมลงบันทึกไว้ในระบบและปรับลดยอดหนี้ ถือว่าเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น เพราะจะต้องเป็นประเด็นที่ต่อสู้ว่ากล่าวกันในคดีตั้งแต่แรก ไม่ใช่มาอ้างในภายหลัง             ในวันเกิดเหตุเจ้าของบ้านคนใหม่ซึ่งเป็นผู้ตาย ได้นำหมายขับไล่ไปเจรจากับเจ้าของบ้านคนเดิมผู้ก่อเหตุตามลำพังโดยปราศจากเจ้าหน้าที่บังคับคดีและเจ้าหน้าที่ตำรวจ  ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง             เมื่อผู้ที่ซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีและปรากฏภายหลังการโอนกรรมสิทธิ์ว่า เจ้าของบ้านเดิมและบริวารยังพักอาศัยไม่ได้ย้ายออกไป แม้จะถูกหมายขับไล่ยึดทรัพย์จากสำนักงานบังคับคดีมาขายทอดตลาดแล้ว ในลักษณะนี้เจ้าของบ้านคนใหม่ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาด ไม่ต้องยื่นฟ้องขับไล่เป็นคดีใหม่อีก              เจ้าของบ้านคนใหม่ซึ่งเป็นผู้ซื้อบ้านจากการขายทอดตลาด มีสิทธิร้องขอให้ศาลออก “หมายตั้งเจ้าพนักงานบังคดี” ซึ่งถือเป็น “เอกสารอำนาจพิเศษ” เพื่อขับไล่ผู้อาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทได้ทันที เนื่องจากกฎหมายมุ่งให้ความคุ้มครองผู้ซื้อทรัพย์จากขายทอดตลาด ให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์ที่ซื้อได้ทันที เพราะหากในความเป็นจริงผู้ซื้อจะต้องไปฟ้องขับไล่เอง ย่อมไม่มีใครอยากจะมาซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลจากกรมบังคับคดีแน่ (แนวฎีกาที่ 8853/2551)             ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดมีสิทธิยื่นคำขอหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ที่ ศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ เมื่อได้หมายตั้งเจ้าพนักงานคดีตามคำสั่งศาลแล้ว […]

ยุบพรรค…. แบบประหลาด<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 6 กันยายน 2562<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>6 กันยายน 2562

Facebook : Rujira Bunnag Twitter : @RujiraBunnag ทันทีที่นาย ไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป ได้ดำเนินการยุบพรรค ด้วยคะแนนเสียง เป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการบริหารพรรค ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับวงการเมืองไทย เป็นอย่างมาก ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 พรรคการเมืองย่อมสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองเมื่อ ไม่แก้ไขข้อบังคับให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึงตามที่กำหนด มีจำนวนสาขาพรรคการเมืองหรือไม่ถึงภาคละหนึ่งสาขาเป็นระยะเวลาติดต่อกันหนึ่งปี ไม่มีการประชุมใหญ่พรรคการเมืองหรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดทางการเมืองเป็นระยะเวลาติดต่อกันหนึ่งปี ไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปสองครั้งติดต่อกันหรือเป็นเวลาแปดปีติดต่อกัน มีหนี้สินล้นผลตัวตามกฎหมายล้มละลาย เลิกตามข้อบังคับ การยุบหรือเลิกพรรคประชาชนปฏิรูป ถือเป็นเรื่องแปลก และเป็นกรณีศึกษา เพราะเมื่อพิจารณาถึงเหตุผล เห็นว่าไม่มีเหตุสมควร หรือจำเป็นให้ต้องยุบหรือเลิกพรรค แต่ยังสู้อุตส่าห์ดำเนินการยุบหรือเลิกพรรคด้วยความสมัครใจ ในที่สุดคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ลงมติให้ความเห็นชอบในการยุบพรรค ประชาชนปฏิรูป แต่ไม่ได้ให้ความเห็นว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไป ในการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อาจเป็นเพราะ กกต. เองก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า จะตัดสินใจอย่างไร หรือจะคำนวณ จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่ออย่างไร จึงได้ปล่อยช่วงเวลาให้เป็นสุญญากาศ เพื่อรอฟังความคิดเห็นรอบด้าน ประกอบการตัดสินใจ นับว่าเป็นท่าทีที่ปกติของกกต.อยู่แล้ว ที่จะลังเลให้ความคิดเห็นอย่างฟันธง ตรงไปตรงมา พรรคประชาชนปฏิรูป มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียง […]

ยื่นบัญชีทรัพย์สิน<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 7 ธันวาคม 2561<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>7 ธันวาคม 2561

Facebook : Rujira Bunnag Twitter : @RujiraBunnag กลายเป็นประเด็นร้อน กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ได้ออกประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องกําหนดตําแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ. 2561โดยได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยประกาศฉบับนี้มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ก่อนที่จะมีประกาศฉบับนี้ เมื่อกล่าวถึงการยื่นบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินของผู้มีหน้าที่ต้องยื่น คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตามที่มีอยู่จริงในวันที่เข้ารับตำแหน่ง และพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทุกสามปีตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยคู่สมรส ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสนั้น คนส่วนมากจะนึกถึงผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร […]

ยิงรถส่วนตัวตำรวจ<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 10 มกราคม 2563<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>10 มกราคม 2563

Facebook : Rujira Bunnag Twitter : @RujiraBunnag กรณีรถส่วนตัวของ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ หักพาล หรือบิ๊กโจ๊ก ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตผู้บัญชาการ สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ที่ถูกยิงถึง 7 นัด ในคืนวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 20.30 น. บริเวณหน้าร้านนวดแผนโบราณ ซอยสาริกา ถนนสุรวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร นับว่าเป็นเรื่องอุกอาจ และสะเทือนขวัญ ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในใจกลางกรุงเทพมหานคร และอีกทั้งเกิดขึ้นแก่อดีตนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ผู้มีชื่อเสียง และมากด้วยบารมี ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ขนาดผู้ใหญ่ยังโดนถึงขนาดนี้ แล้วชาวบ้านธรรมดาจะเหลืออะไร ยิ่งไปกว่านั้น อาวุธปืนที่ใช้ยิงยังมีลักษณะพิเศษ ที่สามารถเก็บปลอกกระสุนโดยไม่ให้หล่นได้ด้วย ต้องนับว่า ผู้ร้ายธรรมดา หรือ ผู้ร้ายกระจอก คงไม่สามารถทำได้แน่นอน ลักษณะของการกระทำดังกล่าว ไม่ได้มุ่งที่จะทำลายให้ถึงแก่ชีวิต เพราะในขณะเกิดเหตุที่ยิงนั้น ไม่มีใคร อยู่ในรถคันที่เกิดเหตุ แต่มีลักษณะเป็นการข่มขู่ […]

ยาวาลซาร์แทน (Valsartan)<br>ลงพิมพ์ในเดลินิวส์ : 25 มิถุนายน 2561<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>25 มิถุนายน 2561

“อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ มนุษย์ทุกคนปรารถนาที่จะไม่มีโรคภัย ทุกคนล้วนอยากมีสุขภาพแข็งแรงแต่ความเป็นจริงแล้ว เกิด แก่ เจ็บ ตาย คือ สัจธรรมชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่มีมนุษย์คนใดสามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ถอนรายการยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ออกจากการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรยาของประเทศไทย ข่าวนี้ถือว่าเป็นข่าวดี เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ได้ง่ายขึ้น ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) มีสรรพคุณในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหลังกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กระบวนการพิจารณาคดีจนถึงศาลฎีกามีคำพิพากษาใช้เวลาถึง 7 ปี ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพดีมาก หลังจากที่บริษัทยาในประเทศสหรัฐอเมริกาได้คิดค้นยาตัวนี้ ได้จดสิทธิบัตรตัวยาและจดสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิตเป็นยาเม็ดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมเป็น 2 สิทธิบัตร และได้รับการคุ้มครองไปทั่วโลกเป็นเวลา 20 ปี โดยที่การจดสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิตเป็นยาเม็ดเป็นการจดเพิ่มเติม (จากสิทธิบัตรตัวยา ซึ่งถือว่า เป็นสิทธิบัตรหลักและเป็นสิทธิบัตรฉบับแรก) อีกหนึ่งฉบับบริษัทยาในประเทศไทยได้ผลิตยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ภายหลังจากที่สิทธิบัตรคุ้มครองตัวยา (ฉบับแรก) หมดอายุลง ทำให้สามารถผลิตเป็นยาสามัญออกมาแข่งขันได้ แต่กลับถูกบริษัทยาข้ามชาติฟ้องร้องว่า เป็นการละเมิดสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิตยา (ฉบับที่สอง) จนมีการฟ้องร้องนำคดีขึ้นสู่ศาล […]

ยายไฮนักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 7 ธันวาคม 2555<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>7 ธันวาคม 2555

คงที่ยังจำกันได้สำหรับ “ยายไฮ” แห่งบ้านโนนตาล ตำบลนาตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ยายไฮเป็นตัวอย่างหนึ่งสำหรับการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม แม้จะใช้ระยะเวลาในการต่อสู้เกือบค่อนชีวิต แต่ยายไฮก็ไม่เคยย่อท้อ ยายไฮเดิมชื่อ “ไฮ เคนงาม” ได้สมรสกับนายคำฟอง ขันจันทา ครอบครัว “ขันจันทา” ใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย โดยประกอบอาชีพทำนาที่ยายไฮได้รับมรดกซึ่งมีที่นาบางส่วนติดริมฝั่งแม่น้ำโขง ทุกคนในครอบครัวต่างช่วยกันทำมาหากิน แต่ในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2520 สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ได้ประกาศโครงการการก่อสร้างเขื่อนห้วยละห้าที่บ้านโนนตาล โดยอ้างว่าเป็นเขื่อนเพื่อการชลประทานขนาดเล็ก เพื่อที่ชาวบ้านจะได้มีน้ำใช้ แต่ชาวบ้านต่างก็เห็นว่า เขื่อนไม่มีความจำเป็น เพราะในบริเวณนั้นไม่ได้มีการขาดแคลนน้ำ คำประกาศดังกล่าวเปรียบเสมือนสายฟ้าผ่า ไม่เพียงแต่ครอบครัวของยายไฮ แต่ยังมีเพื่อนบ้านของยายไฮที่ได้รับผลกระทบอย่างจัง โดยพื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างเขื่อนรวมเกือบร้อยกว่าไร่ ระหว่างการก่อสร้างแม้ยายไฮ และเพื่อนบ้านได้รวมตัวกันคัดค้าน มีการทำหนังสือเรียกร้องให้รพช. ระงับการก่อสร้างโดยอ้างเหตุผลว่า น้ำท่วมที่นาเป็นเพราะผลจากการสร้างเขื่อน นาของยายไฮจำนวน 61 ไร่ต้องจมอยู่ใต้น้ำ แต่การยื่นหนังสือก็ไม่ประสบผลแต่อย่างใด การก่อสร้างเขื่อนดำเนินต่อไปจนการก่อสร้างเสร็จลงในปี พ.ศ. 2522 แม้การต่อสู้ของยายไฮได้เริ่มขึ้นเวลาเดียวกันกับการประกาศโครงการสร้างเขื่อน แต่เมื่อสร้างเขื่อนเสร็จการต่อสู้ก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป เพื่อการเรียกร้องค่าชดเชย พื้นนาที่เคยปลูกข้าวกินและเป็นอาชีพสำหรับตนเองและครอบครัวกลับเต็มไปด้วยน้ำ ทำให้ยายไฮและครอบครัวต้องไปรับจ้างทำนาเพื่อความอยู่รอด และเพื่อเก็บเงินบางส่วนใช้ในการต่อสู้เรียกร้องขอความเป็นธรรม ยายไฮเคยให้สัมภาษณ์สื่อมีข้อความตอนหนึ่งว่า “ยายมองที่ดินตัวเองจมอยู่ใต้น้ำแล้วเศร้าทำอะไรไม่ได้ ผิดกับผืนนาของเพื่อนบ้านเต็มไปด้วยต้นข้าวเขียวพรืดไปหมด” […]

ยาแพง<br>ลงพิมพ์ในเดลินิวส์ : 27 กรกฎาคม 2558<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>27 กรกฎาคม 2558

กรณีเครือข่ายองค์กรด้านเอดส์ เรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุข ใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory Licensing หรือ CL) กับยาต้านไวรัสตับอักเสบซี ที่มีราคาแพงถึงเม็ดละ ๓๐,๐๐๐ บาทในปัจจุบันเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยารักษาไวรัสตับอักเสบชนิดซีชนิดนี้ได้มากขึ้น โดยอ้างถึงต้นทุนการผลิตของบริษัทยาในอินเดียที่สามารถผลิตและจำหน่ายยาตัวเดียวกันได้ในราคา 300 บาทต่อเม็ดเท่านั้น ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนประเมินว่าต้นทุนการผลิตที่แท้จริงอาจมีราคาไม่ถึง 100 บาทต่อเม็ด มาตรการบังคับใช้สิทธิ คือ การที่รัฐบาลออกมาตรการบังคับต่อเจ้าของสิทธิบัตรยา เพื่อให้ได้รับสิทธิใช้สิทธิบัตรยา โดยเจ้าหน้าที่จะเจรจากับเจ้าของสิทธิบัตรก่อน หากไม่ประสบความสำเร็จ จึงจะดำเนินมาตรการบังคับใช้สิทธิโดยจะเลือกผลิตยานั้นเอง หรือนำเข้าในกรณีที่ขาดกำลังผลิต และจะจ่ายค่าชดเชยให้เจ้าของสิทธิบัตรในอัตราที่เห็นว่าเหมาะสม ในประเทศที่กำลังพัฒนาจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 5 อย่างไรก็ตามการบังคับใช้สิทธิบัตรยาจะต้องไม่เป็นไปเพื่อการค้า “โรคตับอักเสบ” หมายถึงการอักเสบของตับ อันเนื่องมาจากสารเคมีการเสพยาเสพติด การดื่มสุรามากเกินไป หรือเชื้อไวรัสต่าง ๆ โรคตับอักเสบซีนี้เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซีเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับ ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงด้านสาธารณสุขอย่างหนึ่งของโลก โรคนี้ติดต่อจากเลือดของผู้ที่มีเชื้อโรคนี้เข้าสู่กระแสเลือดของอีกคนหนึ่ง เรียกการติดต่อนี้ว่า การสัมผัสระหว่างเลือดต่อเลือด แม้ว่าปริมาณเลือดจะน้อยมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแต่โรคนี้ก็สามารถแพร่ไปได้ ทุกคนสามารถติดโรคตับอักเสบซีจากอุปกรณ์ทางการแพทย์และทันตกรรมที่ไม่ได้ผ่านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคและการรักษาทางแผนโบราณที่ใช้วิธีกรีดเจาะผิวหนัง การใช้อุปกรณ์ฉีดยาที่คนอื่นใช้แล้ว รวมทั้งการฉีดสารสเตอรอยด์ การสัก หรือเจาะร่างกาย ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อการติดต่อทางเลือดในระหว่างมีเพศสัมพันธ์เป็นต้น ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซี ที่กล่าวถึงนี้ มีชื่อสามัญว่า “โซฟอสบูเวียร์” (Sofosbuvir) ผลิตและจำหน่ายโดย […]

ย้อนรอยซานติก้า<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 30 ธันวาคม 2559<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>30 ธันวาคม 2559

เหตุการณ์ไฟไหม้ซานติก้าผับ ในคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่คร่าชีวิตนักท่องราตรีกว่าครึ่งร้อย และมีผู้บาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 200 คน กลับเป็นที่สนใจอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทนเพิ่มให้แก่ผู้เสียหาย และญาติผู้เสียชีวิตรวม 12 ราย จากเหตุการณ์ครั้งนั้น รวมเป็นเงินที่ต้องชดใช้ทั้งสิ้นจำนวน 5,794,250.92 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี คดีถึงที่สุด คดีนี้ผู้เสียหายและทายาทของผู้เสียชีวิตในฐานะผู้ฟ้องคดีได้ฟ้องกรุงเทพมหานคร (กทม.) ต่อศาลปกครองกลางกรณีละเลยไม่ดำเนินการตรวจสอบและควบคุมอาคารที่ใช้เป็นซานติก้าผับ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 เพื่อให้โครงสร้างของอาคาร ระบบ และอุปกรณ์อยู่ในสภาพมั่นคงและปลอดภัย เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้ผู้เสียหายและทายาทของผู้ฟ้องคดีทั้ง 12 คน ได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิต ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในสาระสำคัญ คือ ภายในอาคารไม่จัดให้มีป้ายบอกทางออกและทางหนีไฟ ไม่มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ มีการก่อสร้างอาคารผิดจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตมีการต่อเติมดัดแปลงใช้เป็นสถานบริการ อาคารตั้งอยู่ติดถนนสุขุมวิท ไม่ไกลจากสำนักงานเขตวัฒนา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ย่อมต้องทราบหรือควรจะทราบว่า อาคารก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จึงมีหน้าที่จะต้องดำเนินการตาม […]