รถไฟฟ้าสายสีเขียว
ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 30 เมษายน 2564
ดร. รุจิระ บุนนาค
30 เมษายน 2564

Facebook : Rujira Bunnag

Twitter : @RujiraBunnag

ประโยชน์ของระบบขนส่งรถไฟฟ้า คือ ช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว สะดวกสบายในการเดินทาง เมื่อประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าแทนการขับรถยนต์ส่วนตัว ย่อมช่วยลดความหนาแน่นของการจราจรบนท้องถนน ลดอุบัติเหตุ ทั้งช่วยลดมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก

                ปัจจุบันได้มีการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสและเอ็มอาร์ที  หลายเส้นทาง ไม่เพียงแต่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร  แต่ยังขยายเส้นทางสู่ปริมณฑล

               สำหรับรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว ได้แก่  1. รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-เคหะสมุทรปราการ  2. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-หัวลำโพง 3.สายสีลม และส่วนต่อขยาย ตากสิน-บางหว้า  4. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท-สุวรรณภูมิ 5. รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-คลองบางไผ่  6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง  7. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เตาปูน-ท่าพระ  8. รถไฟฟ้าสายสีทอง ธนบุรี-สะพานพุทธ  9. รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

               รถไฟฟ้าที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ได้แก่ 1. รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี  2. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง  3. รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต 4. รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน หมอชิต-ตลิ่งชัน 5. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี 6. สถานีกลางบางซื่อ

                สำหรับค่าโดยสารราคาบัตรโดยสารบุคคลทั่วไป 1.ค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส  ได้แก่ 1.1 สายสุขุมวิท สถานีอ่อนนุช-หมอชิต ค่าโดยสาร 16-44 บาท 1.2  สายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่ ค่าโดยสาร 16-44 บาท  2. ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS ส่วนต่อขยาย ได้แก่  2.1 -สถานีอ่อนนุช-แบริ่ง ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย  2.2 สถานีวงเวียนใหญ่-บางหว้า ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย  3. ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ปัจจุบันเปิดให้บริการฟรี 18 สถานี ได้แก่ 3.1  สถานีหมอชิต-วัดพระศรีมหาธาตุ ฟรี 9 สถานี ได้แก่ ห้าแยกลาดพร้าว พหลโยธิน 24 รัชโยธิน เสนานิคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมป่าไม้ บางบัว กรมทหารราบที่ 11 และวัดพระศรีมหาธาตุ  3.2  สถานีแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ฟรี 9 สถานี ได้แก่ สำโรง ปู่เจ้า ช้างเอราวัณ โรงเรียนนายเรือ ปากน้ำ ศรีนครินทร์ แพรกษา สายลวด และเคหะสมุทรปราการ

                เดิมทีจะมีการปรับขึ้นราคารถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว โดยมีราคา 15-104 บาท ทั้งนี้การเก็บค่าโดยสาร จะเก็บเพียงครั้งเดียวต่อรอบ ไม่มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน ทั้งนี้จะคิดจากต้นทางที่เดินทาง  คือ 1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงเส้นทางสัมปทานในปัจจุบัน (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่) จัดเก็บในอัตราเดิม คือ 16-44 บาท 
                2. ส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จากสถานีห้าแยกลาดพร้าวถึงสถานีคูคต ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับขึ้น 3 บาทต่อสถานี)  3. ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท จากสถานีบางจากถึงเคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับขึ้น 3 บาทต่อสถานี) 4. ส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงที่ 2 จากสถานีโพธิ์นิมิตรถึงสถานีบางหว้า ค่าโดยสาร 15-24 บาท (ปรับขึ้น 3 บาทต่อสถานี)

               ถ้าผู้โดยสารเดินทางทั้งระบบค่าโดยสารจะอยู่ที่ 104 บาท  แต่เดิมมีการคิดอัตราตลอดสายอยู่ที่ 158 บาท  แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19  เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564  กทม. ได้ออกประกาศปรับอัตราค่าโดยสารสูงสุดตลอดสายมาอยู่ที่ 104 บาท

                แม้จะมีการปรับราคาลงมาเหลือ 104 บาทตลอดสาย สำหรับประชาชนที่หาเช้ากินค่ำ มนุษย์เงินเดือน ยังถือว่าแพงมาก ยิ่งในสภาวะที่ต้องเผชิญกับโควิด-19  เงินทุกบาทนับว่ามีค่า 

                 กรุงเทพมหานคร(กทม.)กับเอกชนผู้รับสัญญาสัมปทานหรือ กลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ได้เคยตกลงกันได้แล้วโดยความเห็นชอบของ รมว.มหาดไทยว่า จะกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดลอดสายอยู่ที่ 65 บาท   กทม. ได้นำเสนอข้อตกลงการแก้ไขสัญญาสัมปทานต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งหากให้ความเห็นชอบ  การแก้ไขสัญญาสัมปทาน จะลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 104 บาท เป็น 65 บาท  ลดไป 39 บาท

               แม้จะปรับราคาให้เหลือ 65 บาทตลอดสาย ราคาค่าโดยสารนี้ยังถือว่าเป็นอุปสรรคต่อคนจำนวนมาก   ทำให้เมื่อต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2564   198 องค์กรผู้บริโภค ได้ออกล่ารายชื่อค้านกทม.ต่อสัมปทานให้บีทีเอส โดยให้เหตุผลว่าค่าโดยสาร  65 บาท ถือว่าแพงมาก โดยชี้ว่า เก็บค่าแค่ 25 บาท  สามารถทำกำไรได้แล้ว  

             สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว จะสิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 2572   ในขณะที่กทม.ยังมีสัญญาจ้างบีทีเอสให้บริหารจัดการเดินรถไฟฟ้า สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย(อ่อนนุช-แบริ่ง-สมุทรปราการ และพหลโยธิน-คูคต) ต่อไปอีก 12-13 ปี  สิ้นสุดปีพ.ศ. 2585

              ค่าโดยสาร 65 บาท หากเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำของกรุงเทพมหานคร คือ 331 บาท  ถือว่าสูง  และถ้านำไปเปรียบเทียบกับค่าโดยสารรถประจำทาง ที่ราคาอยู่ที่ 10 – 25 บาท ซึ่งสามารถนั่งได้ตลอดสาย  ยิ่งถ้าบางครอบครัวมีลูกหลายคนที่ต้องพึ่งพิงรถไฟฟ้า  น่าเห็นใจยิ่งนัก  

             สำหรับค่ารถไฟฟ้าในต่างประเทศที่พอจะหยิบยกมาให้เปรียบเทียบ  ตั้งแต่สถานีเริ่มต้นจนถึงสถานีสุดท้าย  ราคาบัตรโดยสารเที่ยวเดียวสำหรับบุคคลทั่วไป  ญี่ปุ่นเฉลี่ยเที่ยวละ 71 บาท ค่าแรงขั้นต่ำ 280 บาทต่อชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 25 ของค่าแรงขั้นต่ำหนึ่งชั่วโมง  เกาหลีใต้ เฉลี่ยเที่ยวละ 63 บาท ค่าแรงขั้นต่ำ 250 บาทต่อชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 25 ของค่าแรงขั้นต่ำหนึ่งชั่วโมง ไต้หวัน เฉลี่ยเที่ยวละ 43 บาท ค่าแรงขั้นต่ำ 140 บาทต่อชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 30  ของค่าแรงขั้นต่ำหนึ่งชั่วโมง   ในขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำของไทยอยู่ประมาณ 41 บาทต่อชั่วโมง และค่าโดยสารรถไฟฟ้าอยู่ที่ 37.5 บาทต่อเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 93.75 ของค่าแรงขั้นต่ำหนึ่งชั่วโมง

การคิดค่าโดยสาร รัฐบาลควรตระหนักถึงค่าแรงขั้นต่ำเป็นสำคัญ ตั้งแต่การให้สัมปทานเพื่อที่จะไม่ได้เกิดปัญหาอย่างทุกวันนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ย่อมมีคนคิดในทางอคติว่า มีอะไรแอบแฝงเบื้องหลัง มีการเอื้อประโยชน์ให้ใครหรือไม่

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
Cookie policy for development and experience and the experience of use that has previously been studied in detail in the policy and can be controlled by controlling the installation.setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies in each category can be customized according to your needs, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น