ร้านขายของเก่า<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 6 กันยายน 2557<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>6 กันยายน 2557

เมื่อเดือนเมษายน 2557 ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่ร้านขายของเก่าภายในซอย ลาดปลาเค้า 72 กรุงเทพมหานคร เหตุระเบิดครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บอีก 19 ราย นับเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการเก็บของเก่าขาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สาเหตุของการระเบิดครั้งนี้เกิดขึ้นจากร้านดังกล่าวได้รับซื้อระเบิดเก่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วนำมาตัดเพื่อนำเหล็กมาขาย แต่ระหว่างตัดได้เกิดระเบิดขึ้นทันที ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ นอกจากนี้แรงระเบิดทำให้เกิดหลุมกว้างกว่า 5 เมตร ลึกประมาณ 2 เมตร ส่วนร้านรับซื้อของเก่าถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหลัง และบ้านเรือนใกล้เคียงรวมถึงรถยนต์ที่จอดภายในซอยได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ตื่นตัวถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น และเริ่มตรวจสอบในการประกอบกิจการร้านขายของเก่า เพื่อป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำรอยขึ้นอีก การเปิดร้านขายของเก่ารัฐได้วางแนวทางปฏิบัติในการควบคุมร้านขายของเก่าตามพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2474 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 และระเบียบราชการของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลอดและค้าของเก่า พ.ศ. 2533 “ ของเก่า ” ตามกฎหมายหมายรวมถึงทรัพย์ที่เสนอขายแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้รวมถึงของโบราณด้วย นอกจากนี้ การค้าของเก่าจึงแบ่งแยกได้ 4 ประเภท คือ ประเภทโบราณวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, ประเภทเพชร พลอย ทอง […]

รางวัลแด่โจรสลัด<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 11 พฤษภาคม 2555<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>11 พฤษภาคม 2555

คนทำดีย่อมได้รับการยกย่องหรือได้รับรางวัลแห่งการทำดี คนชั่วต้องถูกประณามหรือคนกระทำผิดต้องถูกลงโทษ แต่โจรสลัดตามหัวเรื่องกลับได้รับรางวัล โจรสลัดที่ผู้เขียนจะกล่าวถึง คือ โจรสลัดทางชีวภาพหรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Biopiracy” และรางวัลที่ได้คือรางวัลกัปตันฮุค (Captain Hook Awards) ความหมายของ “โจรสลัดชีวภาพ” ที่นิยามโดย Rural Advancement Foundation International (RAFI) หมายถึง “ผู้ซึ่งใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ตนได้สิทธิขาด เป็นเจ้าของ การใช้ประโยชน์ และควบคุมทรัพยากรชีวภาพและความรู้จากท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และการใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่ออ้างความเป็นเจ้าของ และควบคุมทรัพยากรชีวภาพและความรู้ ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึงการตอบแทนและการให้ความคุ้มครองต่อผู้ซึ่งสร้างนวัตกรรมนอกระบบ” คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิชีววิถีหรือไบโอไทย ได้ให้ความหมายของโจรสลัดชีวภาพว่า “บุคคลหรือองค์กรที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยมิได้ขอรับอนุญาต และหรือมิได้แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับต่อผู้เป็นเจ้าของอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยผู้ที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ดังกล่าวมักจะเป็นบรรษัทขนาดใหญ่ หรือหน่วยงานต่าง ๆ จากประเทศอุตสาหกรรม โดยที่ทรัพยากรชีวภาพที่ได้รับไปนั้นมักจะมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไปจดสิทธิบัตรโดยเจ้าของทรัพยากรและความรู้ดั้งเดิมก็จะถูกกีดกันมิให้ได้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนานั้นด้วย” “รางวัลกัปตันฮุค” เป็นรางวัลแห่งความประจานที่มอบให้แก่โจรสลัดทางชีวภาพที่เที่ยวไปขโมยจดสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ สิทธิในพันธุ์พืช ตัวยาหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตัวเองไม่สมควรมีสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของเอามาเป็นของตนเอง ซึ่งเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นทั่วทุกประเทศในโลก เมื่อเอาผิดไม่ได้ก็มอบรางวัล (ประจานความผิด ความหน้าด้าน เห็นแก่ตัว ฉกฉวยประโยชน์) ให้เลย รางวัลกัปตันฮุคดำเนินการโดยการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการขององค์กรประชาชนที่ต้องการต่อสู้กับโจรสลัดชีวภาพ หากผู้อ่านท่านใดอยากทราบว่ามีใครได้รับรางวัลนี้บ้างสามารถดูได้จาก www.captainhookawads.org […]

ร่างรัฐธรรมนูญของอินเดียและไทย<br>ลงพิมพ์ในเดลินิวส์ : 12 ตุลาคม 2558<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>12 ตุลาคม 2558

ประเทศไทยกลับเข้าสู่บรรยากาศของการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยใหม่ อีกครั้ง หลังจากที่มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558 ทำให้เข้าสู่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแบบนับหนึ่งใหม่ ตั้งแต่สรรหาประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ และการแต่งตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งจะมาทำหน้าที่แทนสภาปฏิรูปแห่งชาติ ภายหลังจากที่สิ้นสุดหน้าที่ลงเมื่อ ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558 สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จะมีหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์ และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่าง ๆ เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหากเห็นว่ากรณีใดจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ก็จะจัดทำร่างพระราชบัญญัติขึ้นเสนอต่อสภานิติบัญญัติเพื่อพิจารณาต่อไป แต่ไม่มีอำนาจในการเสนอความเห็นในการร่างรัฐธรรมนูญ หรือพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจของสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่เดิม ในการสรรหาผู้ที่จะมาเป็นประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ นับว่าเป็นขั้นตอนที่ยากลำบาก เพราะจะต้องเลือกเชิญผู้ที่มีความรู้ความสามารถและเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะประธานท่านเดิมคือ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ท่านได้สร้างผลงานไว้ดีแล้ว แต่บังเอิญร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ท่านร่างขึ้นไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ จนในที่สุดจึงได้ท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ นักกฎหมายที่มีชื่อเสียง ซึ่งเคยเป็นทั้งอดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา และได้ผ่านการร่างรัฐธรรมนูญมาแล้วหลายฉบับ รับเป็นประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญคนใหม่ การร่างรัฐธรรมนูญของประเทศอินเดีย จะแตกต่างจากประเทศไทย เพราะจะเป็นช่วงที่ประเทศอินเดียเพิ่งได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษใหม่ ๆ ผู้ที่มีบทบาทในการร่างรัฐธรรมนูญของประเทศอินเดียคือ ดร.เอ็มเบดการ์ คือ บาบาสาเหบ […]

รับมือสึนามิ<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 23 พฤศจิกายน 2561<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>23 พฤศจิกายน 2561

มหันตภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว อุทกภัย ภูเขาไฟระเบิด สามารถสร้างความเสียหายได้อย่างร้ายแรง สำหรับประเทศไทย และประเทศในแถบเอเชีย ภัยพิบัติอย่างหนึ่งที่สร้างความหายนะคือ การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ สึนามิ (Tsunami) เป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง คลื่นที่ท่าเรือ หรือคลื่นชายฝั่ง เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ธารน้ำแข็งไถล คลื่นสึนามิไม่เหมือนคลื่นทะเลทั่วไป เพราะมีความยาวคลื่นมากกว่า การเกิดสึนามินั้นพยากรณ์ให้แม่นยำได้ยากมาก โดยทั่วไปจะใช้ข้อมูลความสูง และเวลาเดินทางถึงของคลื่น เช่นเดียวกันกับการพยากรณ์แผ่นดินไหว ที่นักวิทยาศาสตร์พยายามจะพยากรณ์แต่ยังไม่อาจทำได้ว่า จะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นที่ใด และเมื่อใด คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นรุนแรงในครั้งอดีต ทำให้มีการเขียนถึงการล่มสลายของทวีปแอตแลนตีสเลยทีเดียว คลื่นยักษ์สึนามิที่ร้ายแรงที่สุดในยุคปัจจุบัน คือ คลื่นที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 2547 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่มีชายฝั่งติดกับมหาสมุทรอินเดีย สาเหตุที่มีผู้เสียชีวิตมากนอกจากคลื่นมีความรุนแรงแล้ว สึนามิยังเกิดขึ้นในบริเวณนี้เป็นครั้งแรก ทำให้ไม่มีการป้องกัน เตือนภัย หรืออพยพใดๆ เลย เพราะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศเหล่านี้ ทั้งรัฐและประชาชนจึงไม่มีการเตรียมพร้อมใดๆ การเกิดสึนามินั้นตามปกติในแถบเอเชียจะเกิดที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ประเทศญี่ปุ่นมีการป้องกันเตรียมพร้อมได้ดี มีการสร้างเขื่อน หรือกำแพงกันคลื่น ซึ่งสามารถลดความเสียหายลงได้ […]

รับบริจาคเงินออนไลน์<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 15 พฤษภาคม 2563<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>15 พฤษภาคม 2563

Facebook : Rujira Bunnag Twitter : @RujiraBunnag พรรคอนาคตใหม่ที่โดนยุบพรรค ได้มีการจัดตั้ง “คณะก้าวหน้า-Progressive Movement” โดยยังคงมีแกนนำสำคัญอย่างนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นายปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ และน.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีตโฆษกและคณะกรรมการของพรรคอนาคตใหม่ ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถูกเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ทำให้ขาดรายได้ หรือรายได้ไม่พอเพียงต่อการยังชีพและเลี้ยงครอบครัวรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ต่างมีมาตรการให้การช่วยเหลือ เช่น เราไม่ทิ้งกัน/เยียวยา 5,000 บาท ลดเงินประกันสังคม คืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า/การประปา เอกชนหลายแห่งได้มีการแจกจ่ายถุงยังชีพ มีการแจกจ่ายเงิน สำหรับคณะก้าวหน้าได้ขอให้ประชาชนบริจาค เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชน จนมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า วิธีการดังกล่าวถูกต้องหรือไม่? นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าคณะก้าวหน้า ได้ประกาศ “ผมจะแจกเงิน 3,000 บาท โดยไม่ต้องพิสูจน์สิทธิ ให้กับทุกคนที่อินบ๊อกซ์เข้ามา” วิธีการขอรับเงินรอบแรกวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ต้อง (1) […]

รับจ้างติดคุก<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 24 มีนาคม 2560<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>24 มีนาคม 2560

ข่าวจับแพะ จับผิดตัว ปรากฏให้เห็นตามสื่อต่าง ๆ บ่อยครั้ง สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรมของไทย ยังมีอาชีพแปลกอีกอาชีพที่ซ้ำเติมภาพลักษณ์ของกระบวนการยุติธรรมไทย คือ “รับจ้างติดคุก” การติดคุกทำให้ขาดอิสรภาพ ขาดโอกาสทางสังคม หางานยาก เมื่อพ้นโทษ แต่ทำไมยังมีผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพเช่นนี้ ทุกสังคมล้วนมีความเลื่อมล้ำ เช่นเดียวกับสังคมไทย มีทั้งคนมีฐานะ คนหาเช้ากินค่ำ คนยากไร้ที่บางคนไม่มีแม้แต่ที่จะซุกหัวนอน ค่ำไหนนอนนั่น หรือที่เรียกว่า “คนเร่ร่อน” เพราะช่องว่างในสังคมมีมาก คนเร่ร่อนบางคนไม่มีทางเลือก หากมีใครยื่นข้อเสนอให้ เพื่อที่จะได้มีเงินประทังชีวิต แม้จะเป็นเงินจำนวนไม่มากนัก ข้อเสนอเช่นนั้น อาจเป็นสิ่งดีที่สุดสำหรับพวกเขา นั่นคือ การรับจ้างติดคุก ที่ผู้ยื่นข้อเสนอไม่ต้องถูกจองจำอิสรภาพ แต่มีตัวแทนที่จะรับโทษแทน โดยแลกกับเงินจำนวนหนึ่ง สำหรับผู้ให้ข้อเสนอถือว่าไม่มาก และคุ้มค่าเมื่อแลกกับการที่ไม่ต้องรับโทษ ไม่ต้องเสียอิสรภาพ ไม่ต้องเสียประวัติอาชญากร ข้อหาที่ผู้กระทำผิดตัวจริง จะจ้างให้คนอื่นติดคุกแทน มักจะเป็นข้อหาที่มีอัตราโทษไม่สูง เช่น ข้อหาจำหน่ายซีดีลามกอนาจาร ข้อหาเล่นการพนัน แต่บางครั้งจะเป็นข้อหาที่อัตราโทษสูง ผู้รับจ้างติดคุกจะไม่มีโอกาสล่วงรู้อัตราโทษที่ร้ายแรงก่อน ผู้รับจ้างติดคุกรายหนึ่งในคดีจำหน่ายซีดีลามกอนาจาร ได้เปิดเผยว่า มีคนมาจ้างและให้ทำทีถือถุงซีดีวิ่งไปวิ่งมา หลังจากนั้นตำรวจจะจับกุม เมื่อไปถึงสถานีตำรวจ ตำรวจได้ขอดูบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อสอบปากคำ ต้องแสดงให้ตำรวจดู และให้การรับสารภาพ […]

รัฐบาลกับการโยกย้ายที่(ไม่)เป็นธรรม<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 28 มิถุนายน 2556<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>28 มิถุนายน 2556

ตามที่นายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ และอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ยื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 เรื่องกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่ถูกโยกย้ายไม่เป็นธรรมตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 152/2554 ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2554 ซึ่งนายถวิล เห็นว่า การโยกย้ายนั้นเพื่อเปิดทางให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) รับตำแหน่งเลขาธิการ สมช.แทน เพื่อผลักดันให้พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งมีความใกล้ชิดกับรัฐบาล ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. คำสั่งโยกย้ายจึงไม่ใช่เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ จึงขอให้ศาลปกครองกลางเพิกถอนคำสั่งโยกย้ายดังกล่าวและสั่งให้นายถวิล กลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สมช. ตอนนี้หลายฝ่ายคงจับตามองว่าทางรัฐบาลจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดหรือไม่? หากไม่ยื่นอุทธรณ์ก็ถือว่าคดีถึงที่สุด ก็ต้องไปดำเนินการเพิกถอนคำสั่งต่าง ๆ ตามกฎหมายหากจะอุทธรณ์ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน ซึ่งในขณะนี้ได้มีการมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณารายละเอียดและข้อกฎหมายทั้งหมด ว่าจะสามารถอุทธรณ์ได้ในประเด็นใด และควรจะอุทธรณ์หรือไม่ หากมีการยื่นอุทธรณ์ ก็ต้องเตรียมชี้แจงต่อกลุ่มสื่อมวลชน หรือประชาชนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เพราะสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการไม่ยอมรับผลคำพิพากษา ใช้อำนาจโดยมิชอบ เป็นการกลั่นแกล้งข้าราชการด้วยการโยกย้าย แม้การอุทธรณ์จะเป็นสิทธิตามกฎหมาย […]

รัฐบาลแจกเงิน<br>ลงพิมพ์ในเดลินิวส์ : 26 สิงหาคม 2562<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>26 สิงหาคม 2562

Facebook : Rujira Bunnag Twitter : @RujiraBunnag เป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่า เศรษฐกิจในช่วงก่อนตั้งรัฐบาลชุดใหม่นี้ มีสภาพไม่ค่อยดีนัก แม้รัฐบาลในขณะนั้น ที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี จะแถลงตัวเลขทางเศรษฐกิจ ที่แสดงให้เห็นภาพรวมว่า เศรษฐกิจดีพอสมควร และประชาชนทั่วไป กลับรู้สึกว่า หาเงินลำบาก เศรษฐกิจไม่ดีเหมือนตามตัวเลขของรัฐบาล หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลแม้จะมีเสียงสนับสนุนปริ่มน้ำก็ตาม จึงอาจเป็นสาเหตุให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี จะต้องมีมาตรการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะที่เห็นผลโดยตรง กับประชาชนส่วนใหญ่ ที่มีรายได้น้อย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ล่าสุดได้มีมาตรการ แจกเงินให้กับประชาชน ด้วยการโอนผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้กับประชาชนคนละ 500 บาท เป็นจำนวน 14.5 ล้าน คน รวมเป็นเงิน 7,250 ล้าน บาท หลังจากนั้น ในเดือนกันยายน […]

รัฐธรรมนูญ เ……………ย<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 20 กันยายน 2562<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>20 กันยายน 2562

Facebook : Rujira Bunnag Twitter : @RujiraBunnag เป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันทีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เมื่อวิทยาลัยการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ร่วมกับพรรคฝ่ายค้าน 7 พรรค จัดเสวนาเรื่อง รัฐธรรมนูญนี้เพื่อใคร ? รัฐธรรมนูญใหม่เพื่อคนไทยทุกคน เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562 หัวข้อ เสวนาที่จัดขึ้น นับว่าทันต่อเหตุการณ์ และเป็นที่น่าสนใจ พอสมควร ในระหว่างการเสวนา นางสาว พรรณิการ์ วานิช ที่มีตำแหน่งเป็นถึงโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ได้กล่าวว่า “ มีคนพูดเยอะจะแก้รัฐธรรมนูญหรือร่างใหม่ทั้งฉบับ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่สมควรทำ เพราะรัฐธรรมนูญนี้ เ………..ย ทุกมาตรา กระบวนการไม่ชอบธรรม ไม่มีประชาชนไปร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ไม่มีความชอบธรรมต้องร่างใหม่ทั้งฉบับ ด้วยการให้ประชาชนเข้าไปร่วม” จากคำพูดดังกล่าว ทำให้ต้องกลับมาพิจารณาดูว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีบทบัญญัติอย่างไรบ้าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีทั้งหมด 279 มาตรา […]

รักคุณเท่าฟ้า<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 16 พฤศจิกายน 2561<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>16 พฤศจิกายน 2561

ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ในช่วงตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา สายการบินไทยที่มีคำขวัญว่า “รักคุณเท่าฟ้า” ในกรณีเที่ยวบิน TG971 ซูริค-กรุงเทพฯ ตารางการบินวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ล่าช้ากว่าสองชั่วโมงครึ่ง ด้วยสาเหตุจากนักบินไม่ยอมนำเครื่องขึ้น เพราะที่นั่งของนักบินที่จะโดยสาร (Deadhead Pilot) ไม่ได้นั่งเฟิร์สคลาส (First Class) ทำให้ผู้โดยสารกว่า 300 คนนั่งรอ และในที่สุดได้มีผู้โดยสารสามี-ภรรยาคู่หนึ่ง อดีตข้าราชการระดับสูง ได้ยอมสละที่นั่งที่จองไว้ล่วงหน้าให้ มิฉะนั้นเครื่องคงไม่ได้ออกจากสนามบิน พร้อมกับได้ทำหนังสือถึงบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ถึงกรณีนี้ Deadhead Pilot หมายถึง นักบินที่เดินทางไปด้วยบนเที่ยวบิน โดยไม่ได้ทำหน้าที่ระหว่างไฟลท์ แต่เดินทางไปเพื่อทำหน้าที่หลังจากไฟลท์หรือเดินทางกลับบ้าน การทำงานของนักบินตามประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.) เรื่อง การกำหนดข้อจำกัดเวลาทำการบิน และเวลาปฏิบัติหน้าที่ พ.ศ.2559 กำหนดให้สายการบินสามารถจัดให้นักบินทำการบินได้ไม่เกิน 34 ชั่วโมงบินภายในเจ็ดวัน 110 ชั่วโมงบิน ภายใน 28 วัน และไม่เกิน 1,000 […]