รวยกระจุก จนกระจาย
ลงพิมพ์ในโพสต์ทูเดย์ : 5 มีนาคม 2562
ดร. รุจิระ บุนนาค
5 มีนาคม 2562

Facebook : Rujira Bunnag

Twitter : @RujiraBunnag

The Credit Suisse Global Wealth Report 2018 (พ.ศ.2561) ระบุว่า คนไทยร้อยละ 1 ถือครองความมั่นคั่ง หรือมีทรัพย์สินรวมร้อยละ 66.9 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ มีความเหลื่อมล้ำสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก เชื่อว่าคนไทยคงไม่ได้ภูมิใจกับอันดับหนึ่งแบบนี้

รายงานข้างต้น ยังชี้ให้เห็นว่าคนไทยร้อยละ 99 ถือครองทรัพย์สินเพียงร้อยละ 33.1 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมาก และสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก สำหรับประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 2 คือ รัสเซีย ประชากรที่ร่ำรวยเพียงร้อยละ 1 มีทรัพย์สินรวมร้อยละ 57.1 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ อันดับ 3 คือ ตุรกี ประชากรที่ร่ำรวยเพียงร้อยละ 1 มีทรัพย์สินรวมร้อยละ 54.1 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ และอันดับ 4 คือ อินเดีย ประชากรที่ร่ำรวยเพียงร้อยละ 1 มีทรัพย์สินรวม ร้อยละ 51.5 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ

ทั้งไทย รัสเซีย ตุรกี และอินเดีย 4 ประเทศนี้ คนร้อยละ 1 มีการถือทรัพย์สินรวมทั้ง
ประเทศมากกว่าร้อยละ 50

           ส่วนประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำที่สุด คือ เบลเยียม ประชากรที่ร่ำรวยเพียงร้อยละ 1 มีทรัพย์สินรวมร้อยละ 20.1 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ

ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) รายงาน The Credit Suisse Global Wealth Report 2016 ไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงเป็นอันดับที่ 3 ของโลก คนไทยที่ร่ำรวยเพียงร้อยละ 1 ถือครองทรัพย์สินรวมร้อยละ 58.0 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ

จากรายงาน The Credit Suisse Global Wealth Report ของปี ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) และปี ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) ชี้ให้เห็นด้วยว่า คนรวยยิ่งรวยขึ้น ในขณะที่ไทยส่วนมากกลับไม่ได้มีฐานะดีขึ้น เรียกได้ว่าคนจนยิ่งจนลง

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยพลังแห่งการสะสมทุน การซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า ทำโดยบริษัท หรือกลุ่มธุรกิจเอกชน เพื่อสร้างผลกำไรให้กับหน่วยงาน โดยการแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการ ที่มีการรองรับทางกฎหมายและมีการแข่งขันกันในเชิงการค้าเพื่อทำกำไรสูงสุด ซึ่งไม่ได้ควบคุมโดยหน่วยงานกลางหรือจากทางรัฐบาล

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าไปควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการกระจายผลผลิตแก่ประชาชน รัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยมีการวางแผนการดำเนินงานทางเศรษฐกิจจากส่วนกลาง

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีการรวมลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทั้งรัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

จะเห็นได้ว่าแนวคิดทุนนิยม จะมีแนวคิดตรงข้ามกับสังคมนิยม ที่มีความเห็นคัดค้านว่ากำไรที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดช่องว่างทางสังคม ทำให้คนที่มีฐานะมั่งคั่งรวยมากขึ้น โดยกำไรควรจะมีการแบ่งปันให้กับสังคมในชั้นล่างลงมา

ปัญหาความเลื่อมล้ำ ถือเป็นปัญหาสำคัญของทุกประเทศ ความเลื่อมล้ำทางด้านสาธารณสุขไทย แพทย์หนึ่งคนในกรุงเทพมหานครดูแลผู้ป่วยน้อยกว่า 1,000 คน ในขณะที่แพทย์หนึ่งคนในภาคอีสานต้องดูแลผู้ป่วยมากถึง 5,000 คน นับว่าสูงเป็น 5 เท่า ทางด้านการศึกษา เด็กจากครอบครัวที่รวยที่สุดร้อยละ 20 มีโอกาสสอบผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำวิชาคณิตศาสตร์มากกว่า ในขณะที่เด็กที่มาจากครอบครัวที่จนที่สุดได้เพียงร้อยละ 10 แม้จะมีมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยของรัฐมีการเรียกเก็บค่าหน่วยกิจ นักเรียนที่มาจากครอบครัวยากจนจำนวนไม่น้อย จึงหมดโอกาสศึกษาต่อระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ คน 1 ใน 3 ของประเทศไทยไร้ที่ดินทำกิน ในขณะที่คนรวยบางคนมีมี่ดินนับแสนไร่

นอกจากนี้ ยังเคยมีการสำรวจความเลื่อมล้ำทางด้านรายได้ การถือครองทรัพย์สิน และพบว่าทรัพย์สินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 500 ครอบครัว มูลค่าสูงถึงประมาณ 40,000 ล้านบาท นับว่ามีทรัพย์สินเท่ากับคนธรรมดาทั่วไป 2 ล้านครอบครัว

มีการกล่าวกันว่า ปัญหารวยกระจุก จนกระจาย มีส่วนมาจากประเทศไทยไม่ได้มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง นักลงทุนต่างชาติอาจลังเลในการลงทุน เพราะความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐบาล ทำให้ย้ายการลงทุนไปประเทศอื่นแทน ที่มีกฎระเบียบที่ชัดเจน ไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใด

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะการจัดสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นการสร้างงาน เป็นการกระจายรายได้ แต่ถ้ามองลึกๆแล้วตนที่ได้ประโยชน์จะเป็นกลุ่มนายทุน

การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างไร? พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยเสนอความคิดว่า หนึ่งในทางการแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำ เช่น ส่งเสริมให้คนต่างจังหวัด กลับไปประกอบอาชีพที่ภูมิลำเนาของตนเอง เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่กลับมีนักเศรษฐศาสตร์ ให้ข้อคิดว่า หากแรงงานที่ควรจะอยู่พัฒนาประเทศกลับภูมิลำเนาแล้ว ใครจะทำงานพัฒนาประเทศ ?

ในขณะที่นักวิชาการจำนวนไม่น้อย ได้เสนอแนวทางรัฐต้องจัดสวัสดิการสังคม และการศึกษาให้อย่างทั่วถึง และปลูกจิตสำนึกในการพึ่งพาตนเองให้กับประชากร

คนจำนวนไม่น้อยต่างคาดหวังว่า หลังการเลือกตั้งเศรษฐกิจของประเทศคงจะดีขึ้น การกระจายรายได้คงมีอย่างทั่วถึง ประชาชนคงเข้าถึงสวัสดิการต่างๆตามที่พรรคการเมืองได้แถลงนโยบายไว้ว่าจะทำอะไรเพื่อประชาชน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ผ่านมาไม่มีการกำหนดตัวเลขว่า การกระจาย
ทรัพย์สินเป็นเช่นไร

ทุกประเทศล้วนแต่มีคนร่ำรวยและยากจน รัฐบาลที่ดีไม่ควรเอื้อประโยชน์ให้คนรวยได้ผูกขาดกิจการต่างๆ และมีที่อิทธิพลเหนือราคา

รัฐบาลควรออกกฎหมายเพื่อเพิ่มความเป็นธรรมให้คนยากจน ได้เข้

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
Cookie policy for development and experience and the experience of use that has previously been studied in detail in the policy and can be controlled by controlling the installation.setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies in each category can be customized according to your needs, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น