รักไม่เลือกเพศ
ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 22 ธันวาคม 2560
ดร. รุจิระ บุนนาค
22 ธันวาคม 2560

รักไม่มีพรมแดน รักไม่มีศาสนารักไม่แบ่งชั้นวรรณะ ขึ้นชื่อว่า ความรักนั้นยิ่งใหญ่มาก ใหญ่จนเรียกได้ว่า ปัจจุบันความรักไม่ได้จำกัดเพียงหญิงและชาย แต่ความรักไม่มีอะไรกีดกันที่เพศเดียวจะรักกัน

หลายประเทศยอมรับความรักในเพศเดียวกัน ถึงขนาดยินยอมให้จดทะเบียนสมรสกันได้ เหตุผลการยอมรับความรักในเพศเดียวกัน เพราะมองว่า การขัดขวางการสมรสของคนเพศเดียวกันขัดต่อรัฐธรรมนูญ และละเมิดต่อสิทธิของพลเมืองในเรื่องความเท่าเทียมกัน

สหรัฐอเมริกาได้ยอมรับในเรื่องความรักในเพศเดียวกันเช่นกัน เห็นได้จากคำตัดสินศาลสูงสุดสหรัฐฯ เมื่อกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ในคดี Obergefell v. Hodges ซึ่งเป็นคดีที่คู่รักเพศเดียวกันในรัฐโอไฮโอ ได้ฟ้องร้องกรณีที่รัฐโอไฮโอไม่ยอมรับการสมรสของคู่แต่งงานเพศเดียวกันที่จดทะเบียนสมรสจากรัฐอื่นคือ รัฐแมรีแลนด์ซึ่งเป็นรัฐที่อนุญาตให้มีการสมรสของคนรักเพศเดียวกันได้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2556 โดยศาลได้ตัดสินให้การสมรสของคนรักเพศเดียวกันในทุกรัฐของสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องถูกกฎหมาย การสั่งห้ามการสมรสของคนรักเพศเดียวกันถือเป็นการขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญ

การอนุญาตให้เพศเดียวกันสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นสิ่งที่มีมานานแล้วในประเทศแถบยุโรป เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกของโลกที่มีกฎหมายให้เพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย โดยกฎหมายเริ่มใช้ได้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 และยังมีอีกหลายประเทศ เช่น นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก สเปน โปรตุเกส ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส สาธารณรัฐไอร์แลนด์

เมื่อปีพ.ศ. 2510 อังกฤษและเวลส์ ได้ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางเพศ (The Sexual Offences Act) มีเนื้อหาสำคัญ คือ การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายและชายด้วยกันไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย เท่ากับเป็นการยอมรับความรักของเพศเดียวกัน และในปีพ.ศ.2557มีการบังคับใช้กฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างสมบูรณ์

แคนนาดา บราซิล อุรุกวัย เปอร์โตริโก โคลัมเบีย แอฟริกาใต้ กรีนแลนด์ เกาะกวม หมู่เกาะพิตแครนด์ ต่างยอมรับการจดทะเบียนสมรสของคู่รักเพศเดียวกัน

ประเทศแถบเอเชีย อย่างไต้หวัน เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 ศาลฎีกาของไต้หวันได้มีคำวินิจฉัยว่า กฎหมายที่ห้ามการสมรสระหว่างคนเพศเดียวกันขัดต่อรัฐธรรมนูญ

แต่ที่ฮือฮาจนเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก เมื่อต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 น่าจะเป็นข่าวที่นายทิม วิลสัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศออสเตรเลีย ได้ขอนายไรอัน โบลเจอร์ ซึ่งเป็นคู่รักแต่งงานกลางที่ประชุมรัฐสภาด้วยถ้อยคำที่แสนหวาน ขณะที่กำลังเปิดอภิปรายร่างกฎหมายการสมรสของคนเพศเดียวกัน ซึ่งได้มีการจดบันทึกการขอแต่งงานนี้ลงในรายงานประชุมของรัฐสภาด้วย งานนี้เรียกได้ว่าสร้างความประทับใจและเรียกเสียงปรบมือดังไปทั่วสภา และหนึ่งสัปดาห์ต่อมารัฐสภาออสเตรเลียลงมติผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้

ในขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย แม้กฎหมายของอินโดนีเซียจะไม่ได้บัญญัติห้ามพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน แต่บางพื้นที่อย่างเช่น จังหวัดอาเจะห์ มีกลุ่มมุสลิมสายอนุรักษ์นิยมที่บังคับใช้กฎหมายอิสลามอย่างเคร่งครัด ถือว่าพฤติกรรมรักเพศเดียวกันเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาด และเคยลงโทษคู่รักชาย โดยการโบยด้วยหวายถึง 85 ที ต่อหน้าสาธารณชน เพื่อไม่ให้เอาเยี่ยงอย่าง

หลายประเทศไม่ยอมรับการสมรสของเพศเดียวกัน เพราะมองว่าทำให้สังคมไม่มีความเป็นระเบียบ คนรักเพศเดียวกันที่อยู่ด้วยกัน และเอาเด็กมาเลี้ยงอาจเป็นอันตรายต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและทำให้สถาบันครอบครัวสั่นคลอน

แต่หลายประเทศได้ยอมรับความรักในเพศเดียวกัน ถึงขนาดได้ตรากฎหมายออกมารับรองว่าการสมรสกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศหรือ “LGBT” (L-lesbian G-gay B-bisexualและ T-transgender/transsexual) คนข้ามเพศ หรือบางทีเรียกว่าชาวสีรุ้งทั่วโลกต่างเรียกร้องความรักของตนเป็นสิ่งถูกต้องตามกฎหมาย

การอนุญาตให้เพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้ มีรูปแบบที่ต่างกันไป บางประเทศให้ศักดิ์และสิทธิแก่การสมรสของคนเพศเดียวกัน เท่ากันกับการสมรสของคนต่างเพศกัน ในขณะที่บางประเทศให้คู่รักเพศเดียวกันไปทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินและกำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างกัน และนำสัญญานั้นมาจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ และสิทธิหน้าที่ต่าง ๆ ระหว่างกันเป็นไปตามสัญญาที่จดทะเบียน บางประเทศจะไม่มีระบบการจดทะเบียนใด ๆ ทั้งสิ้น ที่ยอมรับการอยู่ร่วมกินฉันท์สามีภรรยาของคู่รักเพศเดียวกัน

ประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับการจดทะเบียนสมรสของคู่รักเพศเดียวกัน แต่ยอมรับการอยู่กินฉันท์สามีภรรยา

ในกรณีคู่สมรสชายหญิงในประเทศไทยจดทะเบียนสมรสจะมีเรื่องสินส่วนตัวและสินสมรสเข้ามาเกี่ยวข้อง

สินส่วนตัว หมายถึง ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส ส่วนสินสมรส หมายถึง ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส

การสมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อสามีและภรรยาหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่า ๆ กัน

ในกรณีคู่รักเพศเดียวกันในประเทศไทยอยู่กินฉันท์สามีภรรยา จะมีเรื่องทรัพย์สินเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อกฎหมายไม่ยอมรับการจดทะเบียน การจัดการทรัพย์สินจึงต้องบังคับใช้เช่นเดียวกับสามีและภริยา ที่อยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกัน ถือเป็นกิจการห้างหุ้นส่วน แม้จะไม่ได้ร่วมกันเปิดเป็นห้างขายของ แต่ถือเป็นห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน เมื่อไม่ได้ทำสัญญาตกลงว่าจะมีหุ้นส่วนคนละเท่าไร ย่อมต้องถือว่า มีหุ้นส่วนเท่า ๆ กันคนละครึ่ง ทรัพย์สินที่หามาได้ระหว่างอยู่กินกันฉันท์สามีภริยา จึงต้องแบ่งกันคนละครึ่ง

แม้จะรักกันมากเพียงใด แต่เมื่อความรักถึงจุดจบต่างคนต่างไป การที่มีแนวทางจัดการทรัพย์สิน ย่อมทำให้จากกันด้วยดี

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
Cookie policy for development and experience and the experience of use that has previously been studied in detail in the policy and can be controlled by controlling the installation.setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies in each category can be customized according to your needs, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น