รัฐบาลแจกเงิน
ลงพิมพ์ในเดลินิวส์ : 26 สิงหาคม 2562
ดร. รุจิระ บุนนาค
26 สิงหาคม 2562

Facebook : Rujira Bunnag

Twitter : @RujiraBunnag

เป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่า เศรษฐกิจในช่วงก่อนตั้งรัฐบาลชุดใหม่นี้ มีสภาพไม่ค่อยดีนัก แม้รัฐบาลในขณะนั้น ที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี จะแถลงตัวเลขทางเศรษฐกิจ ที่แสดงให้เห็นภาพรวมว่า เศรษฐกิจดีพอสมควร และประชาชนทั่วไป กลับรู้สึกว่า หาเงินลำบาก เศรษฐกิจไม่ดีเหมือนตามตัวเลขของรัฐบาล

หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลแม้จะมีเสียงสนับสนุนปริ่มน้ำก็ตาม

จึงอาจเป็นสาเหตุให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี จะต้องมีมาตรการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะที่เห็นผลโดยตรง กับประชาชนส่วนใหญ่ ที่มีรายได้น้อย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ล่าสุดได้มีมาตรการ แจกเงินให้กับประชาชน ด้วยการโอนผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้กับประชาชนคนละ 500 บาท เป็นจำนวน 14.5 ล้าน คน รวมเป็นเงิน 7,250 ล้าน บาท

หลังจากนั้น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 จะโอนเงินผ่าน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้ประชาชนอีกคนละ 500 บาท เป็นรอบที่สอง รวม 2 รอบ เป็นเงิน 14,500 ล้าน บาท

รัฐบาลยังมีโครงการจ่ายเงิน หรือแจกเงิน เป็นค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูบุตร ตามโครงการมารดาประชารัฐ คนละ 600 บาท เป็นจำนวน 800,000 คน รวมเป็นเงิน 480 ล้าน บาท

นอกจากจะแจกเงินให้แก่ประชาชน ในลักษณะที่มีความจำเป็นแล้ว รัฐบาลยังแจกเงินเพื่อส่งเสริมให้ท่องเที่ยว เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง

โครงการแจกเงินให้เที่ยว เป็นการแจกเงินให้คนละ 1,000 บาท

ในการกระตุ้นให้คนไปเที่ยวนี้ รัฐบาลยังคืน ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม และค่าซื้อสินค้าพื้นเมืองอีกไม่เกินคนละ 4,500 บาท โดยมีหลักการคืนเงินให้ 15 % ของเงินค่าใช้จ่ายไม่เกินคนละ 30,000 บาท ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินในโครงการนี้ประมาณ 10,000 ล้าน บาท

โครงการดังกล่าว แม้ประชาชนที่รับเงิน จะได้รับประโยชน์โดยตรง แต่มีคำถามเกิดขึ้นมาว่า เงินที่รัฐบาลแจกให้มาเพียงเท่านี้ ยังนับว่าเป็นเงินที่น้อยมาก เมื่อจะต้องใช้จ่ายจริง ทำไมรัฐบาลไม่แจกเงินให้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง ซึ่งมองแล้วอาจไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร

ข้อสังเกตดังกล่าวนี้ แม้จะมีส่วนจริงอยู่บ้าง แต่หากรัฐบาลแจกจ่ายเงินให้มากพอค่าใช้จ่ายตามจริง รัฐบาลคงไม่มีเงินมากพอที่จะทำได้

หากพิจารณาอีกด้านหนึ่ง จะเห็นว่า แม้การแจกจ่ายเงินต่อคน จะเป็นเงินจำนวนไม่มาก แต่มีนัยยะที่สำคัญคือ เป็นการชักจูง เชิญชวน หรือกระตุ้นให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ แม้จะมีผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการขายสินค้าและบริการ แต่ในภาพรวมแล้วต้องถือว่ามีผลดี เพราะทำให้เกิดการหมุนเวียนของการเงิน เกิดการจ้างแรงงาน ประชาชนมีรายได้มากขึ้น

ตรรกะนี้อาจจะเป็นมุมมอง ที่แตกต่างจากประชาชนทั่วไป ทางเศรษฐศาสตร์ เมื่อประชาชนไม่จับจ่ายใช้สอย ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะทำให้ประชาชนเลิกเก็บเงินไว้เฉยๆ ต้องกระตุ้นให้ออกมาจับจ่ายใช้สอย

การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในหลายประเทศ ในยามที่เศรษฐกิจซบเซา รัฐบาลกลับมีโครงการสร้างสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้เกิดการใช้จ่าย และการจ้างแรงงาน โดยจะไม่ใช้วิธีเก็บเงินไว้เฉยๆเป็นการออม กว่าโครงการต่างๆจะเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ เศรษฐกิจอาจจะเริ่มฟื้นตัว หรือกลับสู่สภาพดี ประชาชนจะได้ใช้ สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่สร้างไว้ในขณะที่เศรษฐกิจตกต่ำ

การที่รัฐบาลจะจ่ายเงินให้ประชาชน ไปใช้จ่าย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่ประเทศไทยมีมานานแล้ว ในยุคแรกๆ สมัยที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2518 ได้มีโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม หรือที่เรียกกันว่า เงินผัน ที่กล่าวขวัญกันไปทั้งบ้านทั้งเมืองในขณะนั้น โดยการผันเงิน 2 แนวทางคือ ผันเงินผ่านธนาคาร และการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาชนบท หรือการผันประมาณ

ในสมัยนาย ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ในปีพ.ศ. 2544 ได้จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

ในสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีโครงการ แจกเช็คช่วยชาติ ด้วยด้วยการแจกเช็คให้แก่ประชาชน นำไปขึ้นเงินและซื้อของ เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย

แม้ในต่างประเทศ ได้มีโครงการแจกจ่ายเงิน ให้ประชาชน จับจ่ายใช้สอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ประเทศ ญี่ปุ่น ฟินแลนด์ แคนาดา และเนเธอร์แลนด์ ล้วนเคยทำมาก่อนแล้วทั้งสิ้น ซึ่งมีทั้งการแจกจ่ายเป็นตัวเงิน และแจกเป็น Voucher หรือใบการเงิน เพื่อนำไปแลกเป็นสิ่งของ

ล่าสุดรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น มีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนย้ายออกจากกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ ด้วยการเสนอจ่ายเงินเป็นจำนวน 3,000,000 เยน หรือประมาณ 900,000 บาท เพื่อจูงใจ

การแจกจ่ายเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ อาจเกิดผลจริงจังในระยะสั้น แต่ในระยะยาวรัฐบาลต้องมีแผนรองรับ เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จึงจะสัมฤทธิ์ผลได้จริง

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
Cookie policy for development and experience and the experience of use that has previously been studied in detail in the policy and can be controlled by controlling the installation.setting

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies in each category can be customized according to your needs, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น