แชทจนเลิกจ้าง<br>ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 27 มีนาคม 2558<br>ดร. รุจิระ บุนนาค<br>27 มีนาคม 2558

ในยุคปัจจุบันการติดต่อสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็ว สังคมออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Gtalk, Line, Facebook สามารถย่อโลกให้เล็กลง การรู้จักใช้สื่อออนไลน์อย่างถูกวิธีก็นับว่ามีประโยชน์ สำหรับแต่ละคนมากน้อยต่างกัน แต่หากใช้อย่างไม่มีสติก็อาจเกิดผลในทางลบ บางคนถึงขั้นเสพติดเล่นได้ทั้งวันไม่สนใจโลกภายนอก และให้เวลากับสังคมออนไลน์มากกว่าครอบครัว การศึกษา หรือหน้าที่การงาน สำหรับบรรดาลูกจ้างเอกชนที่ชอบใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงส่วนตัวในเวลางาน โดยไม่สนใจหรือรับผิดชอบหน้าที่ของตน ควรต้องตระหนักมากขึ้นและควรเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2557 โจทก์เป็นพนักงาน ฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยว่าไล่ออกเนื่องจากการเล่นอินเทอร์เน็ตและแชต เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาพิพากษาว่า ในระหว่างเวลาทำงาน โจทก์เล่นเน็ตพูดคุย และส่งข้อความในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมงก็มี ถือว่าโจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยไปในเรื่องไม่เกี่ยวกับงาน กรณีเช่นนี้เป็นการกระทำอื่นอันไม่สมควรแก่การปฎิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และการที่โจทก์ใช้เวลางานของจำเลยทำเรื่องส่วนตัวย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างตามฎีกานี้ได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างเล่นอินเทอร์เน็ตพูดคุยและส่งข้อความในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน แต่ละวันเป็นเวลาหลายชั่วโมง จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วง ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (เงินเดือนหนึ่งเดือน) และค่าชดเชยโดยปกติเมื่อนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้าง โดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำความผิดแต่ประการใด นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง มากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงาน (แต่ลูกจ้างต้องทำงานอย่างต่ำสามเดือน) และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างมีสิทธิที่ไม่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ในกรณีลูกจ้าง (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ […]