รวยกระจุก จนกระจาย
ลงพิมพ์ในโพสต์ทูเดย์ : 5 มีนาคม 2562
ดร. รุจิระ บุนนาค
5 มีนาคม 2562

Facebook : Rujira Bunnag

Twitter : @RujiraBunnag

The Credit Suisse Global Wealth Report 2018 (พ.ศ.2561) ระบุว่า คนไทยร้อยละ 1 ถือครองความมั่นคั่ง หรือมีทรัพย์สินรวมร้อยละ 66.9 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ มีความเหลื่อมล้ำสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก เชื่อว่าคนไทยคงไม่ได้ภูมิใจกับอันดับหนึ่งแบบนี้

รายงานข้างต้น ยังชี้ให้เห็นว่าคนไทยร้อยละ 99 ถือครองทรัพย์สินเพียงร้อยละ 33.1 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมาก และสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก สำหรับประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 2 คือ รัสเซีย ประชากรที่ร่ำรวยเพียงร้อยละ 1 มีทรัพย์สินรวมร้อยละ 57.1 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ อันดับ 3 คือ ตุรกี ประชากรที่ร่ำรวยเพียงร้อยละ 1 มีทรัพย์สินรวมร้อยละ 54.1 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ และอันดับ 4 คือ อินเดีย ประชากรที่ร่ำรวยเพียงร้อยละ 1 มีทรัพย์สินรวม ร้อยละ 51.5 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ

ทั้งไทย รัสเซีย ตุรกี และอินเดีย 4 ประเทศนี้ คนร้อยละ 1 มีการถือทรัพย์สินรวมทั้ง
ประเทศมากกว่าร้อยละ 50

           ส่วนประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำที่สุด คือ เบลเยียม ประชากรที่ร่ำรวยเพียงร้อยละ 1 มีทรัพย์สินรวมร้อยละ 20.1 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ

ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) รายงาน The Credit Suisse Global Wealth Report 2016 ไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงเป็นอันดับที่ 3 ของโลก คนไทยที่ร่ำรวยเพียงร้อยละ 1 ถือครองทรัพย์สินรวมร้อยละ 58.0 ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ

จากรายงาน The Credit Suisse Global Wealth Report ของปี ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) และปี ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) ชี้ให้เห็นด้วยว่า คนรวยยิ่งรวยขึ้น ในขณะที่ไทยส่วนมากกลับไม่ได้มีฐานะดีขึ้น เรียกได้ว่าคนจนยิ่งจนลง

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยพลังแห่งการสะสมทุน การซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า ทำโดยบริษัท หรือกลุ่มธุรกิจเอกชน เพื่อสร้างผลกำไรให้กับหน่วยงาน โดยการแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการ ที่มีการรองรับทางกฎหมายและมีการแข่งขันกันในเชิงการค้าเพื่อทำกำไรสูงสุด ซึ่งไม่ได้ควบคุมโดยหน่วยงานกลางหรือจากทางรัฐบาล

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าไปควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการกระจายผลผลิตแก่ประชาชน รัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยมีการวางแผนการดำเนินงานทางเศรษฐกิจจากส่วนกลาง

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีการรวมลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทั้งรัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

จะเห็นได้ว่าแนวคิดทุนนิยม จะมีแนวคิดตรงข้ามกับสังคมนิยม ที่มีความเห็นคัดค้านว่ากำไรที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดช่องว่างทางสังคม ทำให้คนที่มีฐานะมั่งคั่งรวยมากขึ้น โดยกำไรควรจะมีการแบ่งปันให้กับสังคมในชั้นล่างลงมา

ปัญหาความเลื่อมล้ำ ถือเป็นปัญหาสำคัญของทุกประเทศ ความเลื่อมล้ำทางด้านสาธารณสุขไทย แพทย์หนึ่งคนในกรุงเทพมหานครดูแลผู้ป่วยน้อยกว่า 1,000 คน ในขณะที่แพทย์หนึ่งคนในภาคอีสานต้องดูแลผู้ป่วยมากถึง 5,000 คน นับว่าสูงเป็น 5 เท่า ทางด้านการศึกษา เด็กจากครอบครัวที่รวยที่สุดร้อยละ 20 มีโอกาสสอบผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำวิชาคณิตศาสตร์มากกว่า ในขณะที่เด็กที่มาจากครอบครัวที่จนที่สุดได้เพียงร้อยละ 10 แม้จะมีมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยของรัฐมีการเรียกเก็บค่าหน่วยกิจ นักเรียนที่มาจากครอบครัวยากจนจำนวนไม่น้อย จึงหมดโอกาสศึกษาต่อระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ คน 1 ใน 3 ของประเทศไทยไร้ที่ดินทำกิน ในขณะที่คนรวยบางคนมีมี่ดินนับแสนไร่

นอกจากนี้ ยังเคยมีการสำรวจความเลื่อมล้ำทางด้านรายได้ การถือครองทรัพย์สิน และพบว่าทรัพย์สินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 500 ครอบครัว มูลค่าสูงถึงประมาณ 40,000 ล้านบาท นับว่ามีทรัพย์สินเท่ากับคนธรรมดาทั่วไป 2 ล้านครอบครัว

มีการกล่าวกันว่า ปัญหารวยกระจุก จนกระจาย มีส่วนมาจากประเทศไทยไม่ได้มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง นักลงทุนต่างชาติอาจลังเลในการลงทุน เพราะความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐบาล ทำให้ย้ายการลงทุนไปประเทศอื่นแทน ที่มีกฎระเบียบที่ชัดเจน ไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใด

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะการจัดสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นการสร้างงาน เป็นการกระจายรายได้ แต่ถ้ามองลึกๆแล้วตนที่ได้ประโยชน์จะเป็นกลุ่มนายทุน

การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างไร? พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยเสนอความคิดว่า หนึ่งในทางการแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำ เช่น ส่งเสริมให้คนต่างจังหวัด กลับไปประกอบอาชีพที่ภูมิลำเนาของตนเอง เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่กลับมีนักเศรษฐศาสตร์ ให้ข้อคิดว่า หากแรงงานที่ควรจะอยู่พัฒนาประเทศกลับภูมิลำเนาแล้ว ใครจะทำงานพัฒนาประเทศ ?

ในขณะที่นักวิชาการจำนวนไม่น้อย ได้เสนอแนวทางรัฐต้องจัดสวัสดิการสังคม และการศึกษาให้อย่างทั่วถึง และปลูกจิตสำนึกในการพึ่งพาตนเองให้กับประชากร

คนจำนวนไม่น้อยต่างคาดหวังว่า หลังการเลือกตั้งเศรษฐกิจของประเทศคงจะดีขึ้น การกระจายรายได้คงมีอย่างทั่วถึง ประชาชนคงเข้าถึงสวัสดิการต่างๆตามที่พรรคการเมืองได้แถลงนโยบายไว้ว่าจะทำอะไรเพื่อประชาชน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ผ่านมาไม่มีการกำหนดตัวเลขว่า การกระจาย
ทรัพย์สินเป็นเช่นไร

ทุกประเทศล้วนแต่มีคนร่ำรวยและยากจน รัฐบาลที่ดีไม่ควรเอื้อประโยชน์ให้คนรวยได้ผูกขาดกิจการต่างๆ และมีที่อิทธิพลเหนือราคา

รัฐบาลควรออกกฎหมายเพื่อเพิ่มความเป็นธรรมให้คนยากจน ได้เข้

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น