เที่ยวด้วยกัน…โกงด้วยกัน

ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 5 กุมภาพันธ์ 2564

ดร. รุจิระ บุนนาค

5 กุมภาพันธ์ 2564

ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด- 19 ปีพ.ศ. 2562 ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด 3 ล้านล้านบาท โดย 1.9 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 63 มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอย่างมาก
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ  ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นแรงงานและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมถึงธุรกิจสายการบิน การขนส่งผู้โดยสาร โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าต่างๆสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด- 19 ดูไม่คลี่คลายลง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและรายได้ที่เคยได้รับ   คงยากที่จะกลับคืนมาเหมือนเดิม ไม่รู้ต้องจะรอไปได้อีกนานแค่ไหน ที่จะทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลับมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อีก
ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงหามาตรการเพื่อมากระตุ้นให้คนไทยออกมาเที่ยวกันมากขึ้น เพื่อพยุงให้ช่วยอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศอยู่รอดได้
คณะรัฐมนตรี ได้ทุ่มงบประมาณ 22,400 ล้านบาท เพื่อดำเนินมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศภายใต้โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชนผ่านการท่องเที่ยวภายในประเทศ ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สนับสนุนการสร้างงานและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในองค์รวม ระยะเวลาโครงการระหว่าง 1กรกฎาคม พ.ศ.2563 –  30 เมษายน พ.ศ. 2564 กระทรวงการคลังประเมินว่า “เราเที่ยวด้วยกัน” จะมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท
เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการภาคประชาชน คือ เป็นบุคคลสัญชาติไทย มีบัตรประจำตัวประชาชน มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
ประเภทกิจการที่สามารถเข้าร่วมโครงการ โรงแรม/ที่พัก ที่มีใบอนุญาตประกอบการธุรกิจโรงแรม และโรงแรมที่พักที่ไม่มีใบอนุญาตแต่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)  ร้านอาหาร  สถานที่ท่องเที่ยวตามรายชื่อของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร้านโอท็อปที่มีใบอนุญาตประกอบการตามกระทรวงมหาดไทยสปา/นวดเพื่อสุขภาพ (มีใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการ)รถเช่า /เรือเช่า (มีใบอนุญาตประกอบกิจการ)
การสนับสนุนส่วนลดค่าโรงแรมที่พัก รัฐบาลสนับสนุนค่าโรงแรมร้อยละ 40 ของราคาที่พักต่อห้องต่อคืน ทั้งนี้ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อห้องต่อคืน
 การสนับสนุนส่วนลดค่าอาหารและค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยว รัฐบาลสนับสนุนคูปองอาหาร/ท่องเที่ยวให้กับประชาชน เมื่อเช็คอินโรงแรมสำเร็จวันจันทร์-พฤหัสบดี รับ 900 บาท และ วันศุกร์-อาทิตย์ รับ 600 บาท  คูปองอาหาร/ท่องเที่ยวสามารถใช้ได้ที่ร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวที่ร่วมโครงการ โดยประชาชนชำระร้อยละ 60และรัฐบาลสนับสนุนอีกร้อยละ 40ผ่านการตัดเงินจากคูปอง
การสนับสนุนค่าตั๋วเครื่องบิน ทั้งนี้ ประชาชนที่เข้ามากรอกข้อมูลเพื่อรับเงินสนับสนุนค่าตั๋วเครื่องบินจะต้องเป็นผู้ที่จองโรงแรมผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกันเท่านั้น โดยมีสิทธิในการได้รับเงินสนับสนุนค่าตั๋วเครื่องบิน 2 สิทธิผู้โดยสารต่อ 1ห้องโรงแรมที่จอง ทั้งนี้เงินสนับสนุนค่าตั๋วเครื่องบินเท่ากับร้อยละ 40ของราคาค่าตั๋วเครื่องบิน แต่ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อผู้โดยสาร
โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ภายใต้แนวคิด “Co-Payment รัฐช่วยจ่าย” นับได้ว่าเป็นโครงการใหญ่ของภาคการท่องเที่ยวไทยในปี พ.ศ.2563 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ดีให้การท่องเที่ยวไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ที่ดำเนินการโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารกรุงไทย  
 แต่กลับกลายเป็นว่า โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เป็นช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ของบรรดามิจฉาชีพ กลายเป็นว่าเราเที่ยวด้วยกัน..เราโกงด้วยกัน 
หลังจากที่โครงการเปิดตัวได้เพียงไม่ถึงสองเดือน มีการตรวจสอบและพบว่ามีผู้ประกอบการบางรายซึ่งเป็นที่พักขนาดเล็กมีพฤติกรรมต้องสงสัยอาจเข้าข่ายทุจริตจากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ที่พักเหล่านี้  มียอดการจองห้องพักเต็มตลอดเวลาและเกินกว่าจำนวนห้องพักที่มีอยู่ รวมทั้งผู้เข้าพักมีประวัติการใช้ e-Voucher สำหรับการซื้ออาหารในที่พัก โดยที่พักดังกล่าวไม่มีห้องอาหารไว้ให้บริการแก่ผู้เข้าพัก 
 จนทุกวันนี้กลเม็ดการโกงยังมีอยู่เรื่อยๆ รูปแบบของการโกง คือ 1. มีการเข้าเช็คอินในโรงแรม แต่กลับไม่ได้มีการเข้าพักแต่อย่างใด ซึ่งทางโรงแรมได้ประโยชน์จากการใช้สิทธิ e-Voucher วันจันทร์-พฤหัสบดี รับ 900 บาท และ วันศุกร์-อาทิตย์ รับ 600 บาท  2. การที่ผู้ใช้สิทธิสามารถใช้สิทธิในจังหวัดของตนเอง ทำให้เกิดการซื้อ-ขายสิทธิการใช้สิทธิห้องพัก ผู้เข้าพักจะให้ความร่วมมือ โดยการให้ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์  เลขรหัสบัตรประจะตัวประชาชน และรหัส OTP แต่ไม่ได้มีการเข้าพักจริง  3. โรงแรมเปิดขายห้องพักเกินจำนวนจริงที่มี เช่น ผู้ประกอบการโรงแรมที่มีห้องเพียง 100 ห้อง แต่เปิดการจอง 200 ห้อง นำห้องที่เกินมาไปขายต่อให้อีกโรงแรม เพื่อเอาเงินส่วนต่าง 4. ทางโรงแรมและผู้เข้าพักจะตกลงกัน โดยทางโรงแรมจะตั้งราคาห้องพักสูงขึ้น   เพื่อรับเงินส่วนต่าง 
การทุจริตดังกล่าว สร้างความเสียหายให้แก่รัฐนับพันล้านผู้กระทำผิดจำนวนมากกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ แบ่งเป็นผู้ประกอบการโรงแรมกว่า 400 แห่ง และร้านอาหาร ร้านค้ากว่า 400 แห่ง เมื่อจับผู้กระทำผิดได้แล้ว รัฐต้องลงโทษอย่างเด็ดขาด เพื่อให้เกิดความเข็ดหลาบ  ไม่ว่าจะเป็นข้อหาฉ้อโกง ฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นร่วมกันใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน การร่วมกันนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
นอกจากนี้การกระทําความผิดในกรณีนี้ มีลักษณะฉ้อโกงอันเป็นปกติธุระ ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. 2542
ถึงเวลาที่รัฐต้องเชือดไก่ให้ลิงดู มิฉะนั้นแล้ว ถ้ามีโครงการอะไรๆออกมา พวกมิจฉาชีพ จะหาวิธีโกงอยู่เรื่อยๆ

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น