รัฐธรรมนูญ เ……………ย
ลงพิมพ์ในแนวหน้า : 20 กันยายน 2562
ดร. รุจิระ บุนนาค
20 กันยายน 2562

Facebook : Rujira Bunnag

Twitter : @RujiraBunnag

เป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันทีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เมื่อวิทยาลัยการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ร่วมกับพรรคฝ่ายค้าน 7 พรรค จัดเสวนาเรื่อง รัฐธรรมนูญนี้เพื่อใคร ? รัฐธรรมนูญใหม่เพื่อคนไทยทุกคน เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

หัวข้อ เสวนาที่จัดขึ้น นับว่าทันต่อเหตุการณ์ และเป็นที่น่าสนใจ พอสมควร

ในระหว่างการเสวนา นางสาว พรรณิการ์ วานิช ที่มีตำแหน่งเป็นถึงโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ได้กล่าวว่า “ มีคนพูดเยอะจะแก้รัฐธรรมนูญหรือร่างใหม่ทั้งฉบับ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่สมควรทำ เพราะรัฐธรรมนูญนี้ เ………..ย ทุกมาตรา กระบวนการไม่ชอบธรรม ไม่มีประชาชนไปร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ไม่มีความชอบธรรมต้องร่างใหม่ทั้งฉบับ ด้วยการให้ประชาชนเข้าไปร่วม”

จากคำพูดดังกล่าว ทำให้ต้องกลับมาพิจารณาดูว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีบทบัญญัติอย่างไรบ้าง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีทั้งหมด 279 มาตรา แบ่งออกเป็น หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ

หมวด 7 รัฐสภา ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร ส่วนที่ 3 วุฒิสภา ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง ส่วนที่ 5 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา

หมวด 8 คณะรัฐมนตรี หมวด 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์

หมวด 10 ศาล ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 ศาลยุติธรรม ส่วนที่ 3 ศาลปกครอง ส่วนที่ 4 ศาลทหาร

หมวด 11 ศาลรัฐธรรมนูญ

หมวด 12 องค์กรอิสระ ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 คณะกรรมการเลือกตั้ง ส่วนที่ 3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่วนที่ 4 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ส่วนที่ 5 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนที่ 6 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

หมวด 13 องค์กรอัยการ หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ และ บทเฉพาะกาล

ในหมวด 2 พระมหากษัตริย์ บัญญัติไว้ในมาตรา 6 – มาตรา 24 เป็นการเฉพาะ และยังบัญญัติไว้เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในหมวดอื่น เช่น

มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

มาตรา 122 พระมหากษัตริย์ ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและทรงปิดประชุม

มาตรา 161 ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์

มาตรา 175 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย

มาตรา 176 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้ และเลิกใช้กฎอัยการศึก

มาตรา 177 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศสงครามเมื่อได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา

มาตรา 179 พระมหากษัตริย์ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ

มาตรา 180 พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน

มาตรา 190 พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งและให้ผู้พิพากษาและตุลาการพ้นจากตำแหน่ง

มาตรา 191 ก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาและตุลาการต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์

หลังจากที่นางสาว พรรณิการ์ วานิช ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ถึงการแสดงความคิดเห็นอย่างไม่เหมาะสม และขาดวุฒิภาวะทางการเมือง ทั้งที่ตนเองเป็นถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ที่น่าจะมีวุฒิภาวะทางการเมืองสูงกว่านี้

เธอเปลี่ยนคำพูดเป็นว่า รัฐธรรมนูญมีปัญหาทุกมาตรา ซึ่งมีความหมายไม่เหมือนกัน ถือว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

คำพูดที่กล่าวออกไปแล้ว ไม่สามารถย้อนกลับและเปลี่ยนแปลงได้ มีหลักฐานปรากฏชัดเจน เพราะมีผู้ที่อยู่ร่วมในการเสวนา การบันทึกภาพและเสียง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าในความคิดของเธอเป็นอย่างไร และหมิ่นเหม่ ต่อการทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

“ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี”

ที่ถูกที่ควรแล้ว เธอควรจะกล่าววิพากษ์วิจารณ์โดยแยกแยะ ออกมาให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีประเด็นปัญหา ในเรื่องใด และมาตราใด

จริงอยู่ แม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะได้ผ่านการลงประชามติมาก่อน แต่ยังมีหลายประเด็นที่ประชาชน ไม่รู้และไม่เข้าใจ ในตอนที่ลงประชามติ เช่น ไม่รู้ว่า วุฒิสมาชิก 250 คนมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย

ประชาชนเพิ่งจะเข้าใจประเด็นนี้ชัดเจน เมื่อนักวิชาการได้อธิบาย ผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ก่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีในรัฐสภา

ไม่ว่ากฎหมายใด จำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้ทันเหตุการณ์ ในแต่ละยุคแต่ละสมัย

สิ่งสำคัญของการแก้ไขกฎหมาย คือ อย่าหมกเม็ด และให้ประชาชนที่อยู่ภายใต้กฎหมายเข้าใจหลักเกณฑ์อย่างแท้จริง

Marut Bunnag Copyright @2020

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า

Policy

1. Send only queries related to laws only.
2. Do not use rude words, or words which implicate other persons.
3. The sender of a message to the legal board must be responsible for his/her statement.

เงื่อนไขการใช้งานกระทู้คำถาม

1.สำหรับส่งคำถามที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น
2.ห้ามมีคำหยาบคาย พาดพิงบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย
3.ผู้ที่ส่งคำถามลงในกระดานกฏหมาย ต้องมีความรับผิดชอบต่อข้อความนั้น